
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานียิ่งเสมอ
การล่มสลายของทฤษฎีวิวัฒนาการ
และข้อเท็จจริงแห่งการสร้าง
จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
ถ้าใครคนใดคนหนึ่งได้สำรวจตรวจสอบจักรวาลที่เขาได้อาศัยอยู่นี้ดูก็จะพบว่า
จักรวาลนี้มีกาแล็คซี่ถึง 250,000 ล้านกาแล็คซี่ ซึ่งในแต่กาแล็คซี่นั้นจะประกอบไปด้วยดาวอีก
จำนวนมากมายถึง 300,000 ล้านดวง และสิ่งทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ว่าจะเป็นกาแล็คซี่หรือดวงดาว
อันกว้างใหญ่ไพศาลทั้งหมดนี้ต่างหมุนเวียนและล่องลอยไปตามกฎเกณฑ์อย่างเป็นระบบ
ระเบียบ
ถ้ามองดูแล้วเราก็จะพบว่าในทุกๆส่วนของจักรวาลนี้ จะมีระเบียบแบบแผนตลอดจน
ความสมดุลอยู่อย่างสมบูรณ์โดยไม่มีข้อบกพร่องอยู่เลย
โลกนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เล็กกระจิ๋วเมื่อเทียบกับจักรวาลทั้งหมด แต่กระนั้นโลกที่เรา
อาศัยอยู่นี้ ถูกสร้างและออกแบบมาอย่างยอดเยี่ยมพร้อมเพรียงไปด้วยระบบการทำงานที่เต็มไป
ด้วยความสมดุลที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนเป็นอย่างมาก
โลกเรานี้ไม่เหมือนดวงดาวดวงอื่นๆ เพราะโลกเรามีสภาพชั้นบรรยากาศและพื้นผิวที่
เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ น้ำซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลกก็
เป็นหนึ่งในปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ระดับอุณหภูมิ อัตราการโคจร ตลอดจนพื้นผิว
ของโลก ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าโลกใบนี้ได้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้เหมาะแก่การดำรงชีวิต
ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลก
ลักษณะที่ไม่เหมือนใครของโลกใบนี้ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตมากมายที่มีระบบการทำงาาน
ที่ซับซ้อนต่างกันไปตามแต่ละชนิดประเภทของมัน ซึ่งบางครั้งมนุษย์เราก็ยังคาดไม่ถึง พืชพันธุ์
ทฤษฎีวิวัฒนาการ : ความเท็จที่ถูกเชื่อ
- 6 -
และสัตว์หลายล้านชนิดสามารถอยู่อาศัยบนโลกนี้ได้อย่างกลมกลืนและสมดุลกัน สิ่ง
นี้เป็นระบบความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์เป็นอย่างมากจนกระทั่งว่าระบบความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต
เหล่านี้สามารถที่จะคงอยู่ต่อไปได้อย่างไม่ถูกกระทบกระเทือนหรือเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
นอกจากมันจะถูกรบกวนหรือก่อกวนจากมนุษย์
แต่ทว่า คำถามก็คือ แล้วระบบความเป็นอยู่และสิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นมาได้
อย่างไรกัน ?
เมื่อได้มีการสำรวจตรวจดูสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ได้ถูกออกแบบมาอย่างมีระบบสำหรับการดำรงชีวิตและการอยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตทั้งหมดเหล่านี้จะมี
ระบบการทำงานที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนอย่างมากจนทำให้มันสามารถแสดงบทบาทของมันได้
เป็นอย่างดีที่สุดตามความสามารถที่มีอยู่ในตัวมันจากสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่
เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเหล่านี้ได้ถูกวางกฎเกณฑ์และออกแบบจัดระบบความ
เป็นอยู่มาเป็นอย่างดี แน่นอนที่สุดว่าจะต้องมีผู้ที่สร้างมันขึ้นมาอย่างแน่นอน
แต่ทฤษฎีแห่งการวิวัฒนาการที่มีขึ้นในศตวรรษที่ 19 ได้ปฏิเสธการสร้างของพระเจ้า
ซึ่งตามความเชื่อของทฤษฎีการวิวัฒนาการนั้นเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลกนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นมา
หากแต่ก่อกำเนิดขึ้นมาด้วยความบังเอิญ
ผู้ที่ตั้งทฤษฎีนี้จึ้นมารู้จักกันในนามว่า ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ผู้ซึ่งเป็น
นักธรรมชาติวิทยาสมัครเล่น ดาร์วินได้เผยทฤษฎีนี้ไว้ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า "The Origin of
Species" : แหล่งกำเนิดและที่มาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งหนังสือเล่มนี้ถูกพิมพ์ขึ้นมาในปี 1859
หนังสือเล่มนี้ของดาร์วินได้เป็นที่นิยมโดยทันทีหลังจากถูกตีพิมพ์ แต่ความโด่งดังของ
หนังสือเล่มนี้ มิได้เป็นเพราะผลงานด้านวิชาการของดาร์วิน แต่ที่หนังสือของเขาเป็นที่นิยมก็
เพราะมันไปโดนใจหรือตรงกับอุดมการณ์ของผู้คนมากกว่า ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่ผู้คนเริ่มมี
อุดมการณ์ในเรื่องการปฏิเสธศาสนา หรือมีแนวคิดอเทวนิยมอยู่แล้ว แนวความคิดของดาร์วินจึง
ช่วยในการสนับสนุนและเป็นข้ออ้างอิงของพวกที่ยึดถือปรัชญาวัตถุนิยมที่ปฏิเสธการมีอยู่จริงของ
พระเจ้า
คารล์ มารกซ์ (Karl Marx) ผู้ตั้งลัทธิวัตถุนิยมวิภาษได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อ
”Das Kapital" ขึ้นมาเพื่ออุทิศให้แก่ดาร์วิน เขาเขียนที่ปกหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า "ถึงชาร์ลส์ ดาร์วิน
จากผู้เลื่อมใส ผู้อุทิศตัวให้ "
จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
- 7 -
ทฤษฎีของดาร์วินอ้างเหตุผลว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นมานั้นมาจากบรรพบุรุษ
เดียวกันโดยผ่านขบวนการและขั้นตอนแบบค่อยๆ วิวัฒนาการไปเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ดาร์วิน
ก็ไม่สามารถหาหลักฐานข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนข้ออ้างของตนเองได้เลย จริงๆ แล้วตัว
ดาร์วินเองรู้ดีถึงหลักฐานข้อเท็จจริงหลายๆ อย่างที่จะทำให้ทฤษฎีความเชื่อของเขาต้องเป็นโมฆะ
ไป ดาร์วินได้กล่าวยอมรับไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นในบทที่มีชื่อว่า ”Difficulties on Theory” :
ปัญหาและความยุ่งยากที่ทฤษฎีนี้จะต้องเผชิญ แต่ดาร์วินก็หวังว่าปัญหาต่างๆของทฤษฎีการ
วิวัฒนาการเหล่านี้จะหมดไปด้วยกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหม่ที่จะมีขึ้นมาในภายหลัง
แต่ในทางตรงกันข้าม ด้วยกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ทฤษฎีที่ดาร์วินกล่าว
อ้างนั้นกลับถูกหักล้างลงไปทีละข้อทีละข้อ
ดาร์วินกล่าวว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยผ่านขบวนการ
และขั้นตอนแบบค่อยๆ วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ
แต่ทว่าสิ่งมีชีวิตตัวแรกกำเนิดมาได้อย่างไรกัน ? ดาร์วินไม่ได้กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้เลยใน
หนังสือของเขา เขาไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าสิ่งนี้แหละที่จะเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ทฤษฎีของเขาต้อง
เป็นโมฆะไป
วิทยาศาสตร์ในสมัยของดาร์วินเชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตนั้นมีลักษณะโครงสร้าง
องค์ประกอบที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนอะไรมาก มีความเชื่อตามทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ทฤษฎีหนึ่งที่
เรียกว่า “Spontaneous Generation” คือการกำเนิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ มันเป็นทฤษฎีที่เป็น
ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในยุคกลาง ซึ่งตามทฤษฎีนี้เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายสามารถเกิดขึ้นมา
โดยง่ายดายจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต
มีความเชื่อกันไปว่า กบเกิดขึ้นมาเองจากโคลน และแมลงก็เกิดขึ้นมาจากอาหารที่
กินเหลือเอาไว้ และก็ได้มีการทดลองพิสูจน์โดยมีจุดประสงค์ที่จะมาสนับสนุนทฤษฎีหรือแนว
ความเชื่อเช่นนี้ โดยได้มีการนำเอาเมล็ดข้าวสาลีกำมือหนึ่งไปทิ้งไว้ในเศษผ้าโดยหวังว่าจะมีหนู
เกิดขึ้นมาจากการนำของสองสิ่งนั้นมาผสมกันและก็ได้มีการนำตัวอ่อนที่เกิดขึ้นมาจากเนื้อมาเป็น
ข้อกล่าวอ้างโดยกล่าวว่าสิ่งมีชีวิตสามารถกำเนิดขึ้นมาได้จากสิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่ต่อมาในภายหลังก็
เป็นที่รู้ถึงข้อเท็จจริงว่าตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจากเนื้อนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติตามที่เข้าใจ
กันแต่อย่างใด แต่มันเกิดขึ้นมาจากตัวอ่อนที่ตามองไม่เห็นซึ่งแมลงวันนำไปปล่อยไว้ที่เนื้อนั่น
ทฤษฎีวิวัฒนาการ : ความเท็จที่ถูกเชื่อ
- 8 -
และนอกจากนั้นในสมัยของดาร์วินยังมีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่าจุลินทรีย์สามารถเกิดขึ้นมา
โดยง่ายดายจากวัตถุหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิต
แต่แล้ว 5 ปีหลังจากที่หนังสือ “The Origin of Species” ของดาร์วินถูกตีพิมพ์ นัก
ชีววิทยาผู้มีชื่อเสียงชาวผรั่งเศส Louis Pasteur (หลุยส์ ปาสเตอร์) ก็ได้พิสูจน์หักล้าง
แนวความคิดซึ่งเป็นพื้นฐานความเชื่อของทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินโดยสิ้นเชิง
โดยปาสเตอร์ได้พิสูจน์ให้เห็นทางวิทยาศาสตร์หลังจากการที่เขาได้ทำการศึกษาวิจัย
และทดลองมาเป็นเวลานาน ซึ่งเขาก็ได้ข้อสรุปที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เขากล่าวว่า
"วัตถุสารหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตจะสามารถให้ชีวิตแก่ตัวเองได้จริงหรือ? เป็นไป
ไม่ได้เลย ปัจจุบันนี้เป็นที่รู้กันแล้วว่าไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใดๆ ก็แล้วแต่
สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเล็กแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาเองได้นอกจากว่า
สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะต้องมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ให้
กำเนิดมันขึ้นมา" (Louis Pastuer, Fox and Dose, Origin of Life, p.4-5)
นักทฤษฎีวิวัฒนาการคนแรกที่ได้หยิบยกปัญหาเรื่องแหล่งกำเนิดและที่มาของ
สิ่งมีชีวิตขึ้นมากล่าวในศตวรรษที่ 20 นี้ก็คือ นักชีววิทยาชาวรัสเซียซึ่งมีชื่อว่า Alexander Oparin ่
จุดมุ่งหมายของเขาก็คือต้องการคำอธิบายให้รู้ว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดแรกนั้นเกิดขึ้นมาได้
อย่างไร?
ซึ่งตามทฤษฎีวิวัฒนาการนั้นได้มีการกล่าวว่าเซลล์ตัวแรกนี่แหละที่เป็นที่มาหรือ
บรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามความพยายามของเขาก็ต้องจบลงด้วย
กับความล้มเหลว และตัวของโอปารินเองก็ต้องกล่าวยอมรับว่า
"เป็นที่น่าเศร้าใจ ที่จุดกำเนิดและที่มาของเซลล์ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ต่อไปซึ่ง
ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นด้านที่มืดมนที่สุดของขบวนการและขั้นตอนทาง
ทฤษฎีวิวัฒนาการ" (Alexander Oparin, Origin of Life, p.196)
จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
- 9 -
นักทฤษฎีวิวัฒนาการที่มาหลังจากโอปารินก็ได้ทำการทดลองเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะ
หาคำตอบถึงแหล่งกำเนิดและที่มาของสิ่งมีชีวิตเพื่อที่จะได้มาสนับนสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของ
พวกเขา
นักเคมีชาวอเมริกันมีนามว่า Stanley Miller ได้ทำการทดลองชิ้นโด่งดังที่สุดในปี
1953 โดยที่มิลเล่อร์ได้นำเอาโมเลกุลจำนวนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตมาทำการกระตุ้นปฏิกิริยาโต้ตอบ
ต่อแก๊สชนิดต่างๆ ที่เขาอ้างว่ามีอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกในช่วงแรกเริ่ม ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น
การทดลองชิ้นนี้ถือเป็นความหวังของวงการวิทยาศาสตร์ที่จะพิสูจน์เรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ แต่
ความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยเพราะจากการค้นพบในภายหลังได้แสดงให้เห็นว่า แก๊สต่างๆ ที่
ใช้ในการทดลองนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับแก๊สที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศในช่วงเริ่มแรกของโลก
และในที่สุดตัวของ มิลเล่อร์เองก็ต้องออกมายอมรับถึงความล้มเหลวและความเป็นโมฆะของการ
ทดลองของเขาในครั้งนั้น
จากความพยายามทั้งหลายของพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการที่มีขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่
20 เพื่อที่จะมาอธิบายถึงแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตก็ต้องจบลงด้วยความล้มเหลว
Jeffrey Bada ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ เคมี และเป็นผู้สนับสนุนทฤษฎี
วิวัฒนาการตัวยงก็กล่าวยอมรับถึงความจริงข้อนี้ในนิตยสาร "Earth" ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ปี
1998 ซึ่งเป็นหนึ่งในนิตยสารชั้นนำทางด้านสิ่งตีพิมพ์ของฝ่ายนิจมทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยที่บาดา
ได้กล่าวว่า
"ในวันนี้ ขณะที่เราจะจากศตวรรษที่ 20 เราก็ยังคงอยู่กับปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่ยัง
หาทางออกไม่ได้ เช่นเดียวกับตอนี่เราเริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 นั่นคือปัญหา
ที่ว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้อย่างไรกัน?" (Jeffrey Bada, Earth, Feb,
1998)
ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกปัญหาหนึ่งที่ทฤษฎีวิวัฒนาการกำลังเผชิญอยู่และก็ยังหา
ทางออกไม่ได้ก็คือปัญหาที่เกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างอันซับซ้อนอย่างน่าเหลือเชื่อของเซลล์
สิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ทุกชนิดจะประกอบไปด้วยเซลล์ที่มีขนาดเล็กเท่ากับหนึ่งในร้อยของ
มิลลิเมตร และมีสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีเซลล์เดียว แต่กระนั้นถึงแม้จะมีเซลล์เดียวก็ตาม แต่
ทฤษฎีวิวัฒนาการ : ความเท็จที่ถูกเชื่อ
- 10 -
องค์ประกอบที่มีอยู่ในเซลล์นั้นก็มีลักษณะที่ซับซ้อนอย่างน่าทึ่ง มันมีระบบการปฏิบัติงานอัน
ซับซ้อน เพื่อที่จะทำให้มันดำรงชีวิตอยู่ต่อไป และที่ยิ่งไปกว่านั้น มันยังมีสิ่งที่อาจเรียกว่าเป็น
มอเตอร์ตัวเล็กๆ ที่ช่วยในการขับเคลื่อนอีกด้วย
ในสมัยของดาร์วิน ลักษณะโครงสร้างอันซับซ้อนของเซลล์ยังไม่เป็นที่รู้จัก ทั้งนี้ก็
เนื่องมาจากกล้องจุลทรรศน์ที่ยังล้าหลังในสมัยนั้น จึงทำให้เซลล์มองดูเหมือนไม่มีลักษณะอะไร
พิเศษในตัวมัน แต่แล้วด้วยกับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนที่มีกำลังสูงซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใน
ตอนกลางของศตวรรษที่ 20 จึงทำให้เราได้รู้และเข้าใจว่า จริงๆ แล้วเซลล์ของสิ่งมีชีวินนั้นมีระบบ
การทำงานที่ซับซ้อนถึงเพียงไร สิ่งนี้ได้เผยให้เห็นถึงความซับซ้อนตลอดจนการทำงานกันอย่างมี
ระบบของเซลล์ที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ
เซลล์ที่มีชีวิตเพียงตัวเดียวจะประกอบไปด้วยส่วนเล็กๆ เป็นพันๆ แต่ละส่วนทำงาน
กันอย่างสอดคล้องสามัคคี หากจะเปรียบก็เหมือนกับว่า ภายในเซลล์ตัวเดียวนั้นจะมีทั้งสถานี
พลังงานไฟฟ้า โรงงานต่างๆ ที่ทันสมัยซึ่งใช้ทำหน้าที่ต่างๆ และหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่สลับซับซ้อน
ระบบเก็บรักษาที่มีขนาดใหญ่ โรงกลั่นกรองที่ทันสมัย ตลอดจนมีเยื่อหุ้มเซลล์นี้จะคอยทำหน้าที่
ควบคุมสิ่งที่เข้าออกจากเซลล์
เซลล์นี้จะสามารถมีชีวิตดำรงอยู่ต่อไปได้ก็ต่อเมื่อส่วนต่างๆที่มีในตัวมันที่ใช้ในการ
ปฏิบัติการจะต้องเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันเพียงสถานเดียว และมันก็เป็นไปไม่ได้ที่ระบบการทำงาน
ของเซลล์ที่ซับซ้อนละเอียดอ่อนเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาเนื่องจากความบังเอิญ แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้
ห้องแล็ปวิทยาศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยที่สุด ก็ยังไม่มีความสามารถที่
จะผลิตเซลล์ที่มีชีวิตขึ้นมาจากสิ่งที่ไร้ชีวิตได้เลยแม้แต่ตัวเดียว จริงๆ แล้วมันก็เป็นที่ยอมรับกัน
อย่างแน่นอนว่าสิ่งนั้นเป็นไปไม่ได้ และความอุตสาหะที่จะพยายามผลิตเซลล์ที่มีชีวิตจากสิ่งที่ไร้
ชีวิตเหล่านั้นก็ต้องเป็นอันล้มเลิกไป
แต่กระนั้น นักทฤษฎีวิวัฒนาการก็ยังกล่าวอ้างว่าระบบการทำงานของเซลล์ที่กล่าว
มานี้เกิดขึ้นมาเองจากความบังเอิญ ซึ่งความเป็นจริงแล้วระบบการทำงานของเซลล์ที่แม้แต่มนุษย์
ผู้พร้อมไปด้วยสติปัญญาความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ยังไม่สามารถที่จะ
ลอกเลียนแบบได้
จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
- 11 -
Sir Fred Hoyle ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง
โด่งดัง ได้กล่าวอธิบายบอกถึงความเป็นไปไม่ได้ที่เซลล์จะกำเนิดเกิดขึ้นมาเอง โดยเขาได้
ยกตัวอย่างว่า
"ความเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตในชั้นที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ่นมาเองด้วยความบังเอิญก็
อาจจะเปรียบได้กับความเป็นไปได้ที่พายุโทนาโดจะพัดผ่านเข้ามายังกองเก็บ
ของและวัสดุเก่าแล้วกลายไปเป็นเครื่องบินโบอิ้ง 747 จากวัสดุนั้น" (Fred
Hoyle, Naturer, 12 พฤศจิกายน)
ในปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์ด้านเคมีวิทยาของสิ่งมีชีวิตก็ได้เผยให้รู้ถึงลักษณะทางด้าน
โครงสร้างและการปฏิบัติงานอันซับซ้อนที่สุดของโมเลกุล DNA ซึ่งระบบทางด้านโครงสร้างของ
โมเลกุล DNA ได้ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ 2 คน นั่นก็คือ James Watson และ Francic
Crick ในปี 1955 จากการค้นพบของเขาทั้งสองนี้ก็บอกให้เรารู้ว่า สิ่งมีชีวิตนั้นมีระบบการทำงานที่
สลับซับซ้อนเกินกว่าที่คาดไว้ในตอนแรก
Francic Crick ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบิลไพรซ์จากการค้นพบครั้งนี้ ถึงแม้ตัวของเขาเอง
จะเป็นนักทฤษฎีวิวัฒนาการอย่างฝังหัวก็ตาม แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยอมรับว่าโครงสร้างการทำงาน
อย่าง DNA นี้ไม่มีวันที่มันจะเกิดขึ้นมาเองได้ด้วยความบังเอิญ
DNA เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในนิวเครียสของเซลล์ รายละเอียดทั้งหมดของ
สรีระและรูปร่างของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในส่วนที่เป็นเกลียวขดสองชั้นนี้ ข้อมูลทั้งหมด
เกี่ยวกับองค์ประกอบทางด้านร่างกายตั้งแต่สีในตาไปจนถึงระบบโครงสร้างของอวัยวะภายใน
และสัดส่วนการปฏิบัติงานของเซลล์ทั้งหมดเหล่านั้นจะถูกวางโปรแกรมไว้ในส่วนที่เรียกว่า "ยีนส์"
ใน DNA ทั้งสิ้น
รหัสของ DNA จะประกอบไปด้วยลำดับการจัดเรียงฐานข้อมูลต่างๆ ที่แตกต่างกันไป
ถ้าเราจะเปรียบเทียบฐานเหล่านี้ในรูปของตัวอักษรเราก็จะสามารถเปรียบ DNA ได้กับฐานจัดเก็บ
ข้อมูลที่ประกอบไปด้วยอักษร 4 ตัว ซึ่งข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลนี้
ถ้าเราจะลองเขียนข้อมูลที่มีอยู่ใน DNA ทั้งหมดลงบนกระดาษก็อาจจะต้องให้ใช้
กระดาษเป็นล้านๆ หน้า และนั่นก็เท่ากับว่าต้องเขียนข้อมูลที่มีอยู่ใน DNA ลงไปมากกว่า
ทฤษฎีวิวัฒนาการ : ความเท็จที่ถูกเชื่อ
- 12 -
สารานุกรมบริตานนิก้า (Britannica) ถึง 40เท่า ซึ่งสารานุกรมบริตานนิก้านั้น เป็นแหล่งรวบรวม
ข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีอยู่
แต่แหล่งข้อมูลของ DNA อันน่าทึ่งนี้ก็ได้ถูกจัดเก็บไว้ในนิวเคลียสที่เล็กกระจิ๋วหริว
ของเซลล์ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าหนึ่งมิลลิเมตรถึงหนึ่งพันเท่า ( 1 หาร 1000 )
มีการคำนวณกันว่าสายโซ่ของ DNA ซึ่งเล็กพอที่จะใส่ไว้ในช้อนชาได้นั้นมี
ความสามารถที่จะบรรจุข้อมูลทั้งหมดของหนังสือทุกเล่มที่เขียนขึ้นมาในโลกนี้ได้
ทฤษฎีการวิวัฒนาการซึ่งมองว่าชีวิตเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความบังเอิญที่ไร้
จุดมุ่งหมายก็ต้องล้มเหลวไม่เป็นท่า ไม่สามารถเปิดปากพูดอะไรได้เมื่อต้องเผชิญกับระบบการ
ปฏิบัติงานที่สลับซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อของ DNA ซึ่งมันเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า DNA และเซลล์
ต่างๆ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดนี้เป็นผลที่เกิดมาจากงานสร้างอันยอดเยี่ยมและน่าสรรเสริญ
ฉะนั้นเมื่อมีการสร้างหรือมีสิ่งที่ถูกสร้างอยู่ แน่นอนที่สุดว่าจะต้องมีผู้ที่สร้างสิ่งเหล่านี้
ขึ้นมา ซึ่งเป็นผู้ทรงพลังอำนาจอันไม่มีขีดจำกัดผู้ทรงรอบรู้และทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยวิทยปัญญา
ขั้นตอนและวิธีการที่ได้มาจากการจินตนาการในขบวนการทฤษฎีวิวัฒนาการ
การปั้นเรื่องขึ้นมาของพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการที่ทำให้เข้าใจว่าชีวิตนั้นสามารถเกิด
มาจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต มันได้ถูกหักล้างด้วยกับวิยาศาสตร์ในปัจจุบัน
ดาร์วินได้นำเสนอแนวความคิดเดียวที่จะมาเป็นตัวอธิบายระบบทางด้านการ
วิวัฒนาการของเขา และแนวความคิดนั้นก็คือ "การเลือกสรรทางธรรมชาติ" จากหนังสือที่เขา
เขียนก็ทำให้เรารู้ว่าดาร์วินได้ให้ความสำคัญต่อแนวความคิดนี้เป็นอย่างมาก (The Origin of
Species by Means of Natural Selection : แหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตโดยวิธีการเลือกสรร
ทางธรรมชาติ)
การเลือกสรรทางธรรมชาตินั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ผู้ซึ่งแข็งแรงที่สามารถ
ปรับตัวเองได้ดีต่อสภาพแวดล้อมก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ฝูงกวางที่ถูกไล่
ล่าโดยสัตว์ล่าเหยื่อ กวางตัวที่วิ่งได้เร็วกว่าก็จะสามารถมีชีวิตรอดมาได้ หลังจากนั้นกวางส่วน
ใหญ่ในฝูงก็จะมีแต่กวางตัวที่แข็งแรงและฉับไวเนื่องจากตัวที่เชื่องช้าและอ่อนแอกว่าก็ได้ตกเป็น
เหยื่อไปหมดแล้ว
จินตนาการของทฤษฎีวิวัฒนาการ
- 13 -
แต่ถึงแม้ระบบความเป็นอยู่ทางธรรมชาติจะเป็นเช่นนี้ก็ตาม แต่มันก็ไม่ได้ทำให้กวาง
ต้องมีการวิวัฒนาการเลยแม้แต่น้อย มันไม่ได้เปลี่ยนกวางให้ไปเป็นสัตว์อีกประเภทหนึ่งแต่อย่าง
ใด
การเลือกสรรทางธรรมชาตินี้ก็เป็นเพียงการกำจัดตัวที่ป่วยหรือพิการอ่อนแอออกไป
และมันก็ยืนยันถึงการดำรงอยู่ต่อไปตลอดจนความสมบูรณ์แข็งแรงของสิ่งมีชีวิตอีกบางจำพวก
และการเลือกสรรทางธรรมชาตินี้ก็ไม่ได้มีแรงผลักดันหรือเป็นตัวที่จะทำให้เกิดการวิวัฒนาการ
ขึ้นมาได้
ดาร์วินก็รู้ตัวดีถึงสิ่งนี้เช่นกันและนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ดาร์วินยอมรับไว้ในหนังสือของ
เขา (The Origin of Species) โดยเขากล่าวว่า
"การเลือกสรรทางธรรมชาติไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและทำอะไรไม่ได้เลย นอกจาก
ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เอื้ออำนวยและเหมาะเจาะที่จะเกิดขึ้นเองด้วยความ
บังเอิญในสิ่งมีชีวิต " (Charles Darwin, The Origin of Species, 1st, ed, p.177)
ดาร์วินได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากเพื่อนร่วมสมัยของเขาคนหนึ่ง ในแนวความคิด
ที่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถเกิดขี้นมาเองและมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวในสภาพการที่เหมาะสมและ
เอื้ออำนวย และเพื่อนร่วมสมัยของดาร์วินคนนั้นก็คือ Lamarck (ลามาร์ค) นักชีววิทยาชาว
ฝรั่งเศส
ลามาร์คมีความเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตจะถ่ายทอดลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่มีอยู่ไปสู่รุ่น
ต่อไปที่มาทีหลัง ในแนวความคิดของลามาร์คนั้น ยีราฟวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่คล้ายกวาง นั่นก็
คือ ลำคอของสัตว์จำพวกนี้จะค่อยๆ ยืดออกไปตามกาลเวลาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทั้งนี้ก็
เนื่องมาจากการที่มันพยายามเอื้อมคอไปกินใบไม้ที่อยู่บนกิ่งสูงๆ
ลามาร์คยังมีความเชื่อเช่นกันว่าถ้าคนในสมาชิกครอบครัวหรือสายตระกูลถูกตัดแขน
ออกเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน เด็กที่เกิดขึ้นมาใหม่ในภายหลังก็จะเริ่มแขนกุดหรือไม่มีแขน
ดาร์วินผู้ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากความเขื่อเหล่านี้ ก็ยิ่งมีแยวความคิดที่เหิมเกริมไป
มากกว่านั้น โดยที่เขาได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของเขาว่า หมีบางชนิดที่
พยายามหาเหยื่อในน้ำ หลายๆ รุ่นเข้ามันก็ได้วิวัฒนาการไปเป็นปลาวาฬในที่สุด
ทฤษฎีวิวัฒนาการ : ความเท็จที่ถูกเชื่อ
- 14 -
แต่กระนั้นแนวความคิดของทั้งลามาร์คและดาร์วินต่างก็ผิดพลาด เนื่องจาก
แนวความคิดของเขาทั้งสองนั้นไปขัดแย้งกับกฎขั้นพื้นฐานที่สำคัญของชีววิทยา ในสมัยนั้นวิชา
พันธุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางด้านเคมีวิทยาของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนจุลชีววิทยายังไม่ได้เป็นส่วน
หนึ่งของสาขาวิชาทางด้านวิยาศาสตร์ กฎแห่งการถ่ายถอดลักษณะทางด้านพันธุกรรมก็ยังไม่เป็น
ที่รู้จักกันในขณะนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งลามาร์คและดาร์วินมีความเชื่อว่าลักษณะพิเศษทาง
พันธุกรรมนั้นสามารถถูกถ่ายถอดได้โดยผ่านทางกระแสเลือด
เนื่องจากความล้าหลังทางด้านวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น จึงไม่ได้ทำให้ทฤษฎีที่ลา
มาร์คและดาร์วินคิดขึ้นมาเป็นสิ่งที่ดูแปลกแต่อย่างใด
ข้อสมมติฐานของดาร์วินมีอิทธิพลต่อแวดวงวิทยาศาสตร์ในสมัยของเขาเป็นอย่าง
มาก แต่อย่างไรก็ตามดาร์วินก็ยังคงมีปัญหาที่แก้ไม่ตกอยู่ในหนังสือของเขาในบทที่เขากล่าวถึง
อุปสรรคของทฤษฎีวิวัฒนาการ ซึ่งดาร์วินได้กล่าวไว้ว่า
"ถ้ามีการพิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตนั้นมีระบบการทำงานที่ซับซ้อน และอวัยวะ
ต่างๆ ที่ช่วยในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนเหล่านั้นมิได้เกิดขึ้นมาตามขั้นตอน
หรือขบวนการวิวัฒนาการ แต่มันเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันในทีเดียว ถ้าเป็น
เช่นนั้นแล้วทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินเองก็จะต้องพังลงอย่างราบคาบ"
(Charles Darwin, The origin of species, 1st, ed, p.189)
และแล้วสิ่งที่ดาร์วินกลัวนี้ก็เกิดขึ้นจริงหลังที่เขาตายไปได้ไม่นาน จากกฎแห่งการ
ถ่ายทอดลักษณะทางด้านพันธุกรรมที่ค้นพบโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรียนั่นคือ Gregor
Mendel ก็ทำให้สิ่งที่ทั้งลามาร์คและดาร์วินได้กล่าวอ้างไว้ต้องเป็นอันจบลง
จากวิทยาศาสตร์ทางด้านพันธุศาสตร์ที่ได้มีการพัฒนามาในช่วงเริ่มต้นแห่งศตวรรษ
ที่ 20 นี้ ได้พิสูทจน์ให้เห็นแล้วว่าการถ่ายทอดพันธุกรรมไปยังรุ่นถัดๆ ไปนั้นมิได้ถ่ายทอดกันโดย
ผ่านทางลักษณะเฉพาะพิเศษที่ได้รับมาทางด้านร่างกาย หากแต่จะถ่ายทอดโดยผ่านทางยีนส์
เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
จากการค้นพบกฎการสืบทอดพันธุกรรมนี่เองที่ทำให้เป็นที่ประจักษ์ว่าความเชื่อจาก
การจินตนาการที่ว่าลักษณะเฉพาะตัวนั้นได้มาโดยการค่อยๆ ก่อตัวสะสมกันมาจากรุ่นหนึ่งไปสู่
จินตนาการของทฤษฎีวิวัฒนาการ
- 15 -