ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
ความหมายโองการอัลกุรอาน
“ดังที่เราได้ส่งรอซูลผู้หนึ่ง (นบีมูฮัมหมัด ซล.) จากพวกเจ้าเองมาในหมู่พวกเจ้า ซึ่งเขาจะอ่านบรรดาโองการของเราให้พวกเจ้าฟัง และจะทำให้พวกเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ และจะสอนคัมภีร์ และความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติให้แก่พวกเจ้า และจะสอนพวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าไม่เคยรู้มาก่อน # ดังนั้นพวกเจ้าจงรำลึกถึงข้าเถิด ข้าก็จะรำลึกถึงพวกเจ้า และจงขอบคุณข้าเถิด และจงอย่าเนรคุณต่อข้าเลย # บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอาศัยความอดทน และการละหมาดเถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอยู่ร่วมกับผู้อดทนทั้งหลาย # และพวกเจ้าอย่ากล่าวแก่ผู้ที่ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮ์ว่า พวกเขาตาย หามิได้ พวกเขายังมีชีวิตอยู่ แต่ทว่าพวกเจ้าไม่รู้สึก # และแน่นอน เราจะทดลองพวกเจ้าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความหิวและด้วยความสูญเสีย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากทรัพย์สมบัติ ชีวิต และพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด # คือบรรดาผู้ที่เมื่อมีเคราะห์ร้ายมาประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็กล่าวว่า แท้จริงพวกเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และแท้จริงพวกเราจะกลับไปยังพระองค์ # ชนเหล่านี้แหละพวกเขาจะได้รับคำชมเชยและการเอ็นดูเมตตาจากพระเจ้าของพวกเขาและชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่ได้รับข้อแนะนำอันถูกต้อง“ (อัลกุรอาน อัลบะเกาะเราะฮ์ 2:151-157)
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงมีความอดทน และจงต่างอดทนซึ่งกันและกันเถิด และจงประจำอยู่ชายแดน และพึงกลัวเกรงอัลลอฮ์เถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ“ (อัลกุรอาน อาละอิมรอน 3:200)
“และเจ้าจงอดทน เพราะแท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงทำให้รางวัลของผู้ทำความดีสูญหาย“ (อัลกุรอาน ฮูด 11:115)
“และจงอดทนเถิด และการอดทนของเจ้าจะมีขึ้นไม่ได้ เว้นแต่ด้วย (การเตาฟิกของ) อัลลอฮ์ และอย่าเศร้าโศกต่อพวกเขา และอย่าคับใจในสิ่งที่พวกเขาวางกลอุบาย“ (อัลกุรอาน อันนะห์ล์ 16:127)
“ดังน้น เจ้าจงอดทนเพราะแท้จริงสัญญาของอัลลอฮ์นั้นเป็นความจริง และจงขออภัยโทษต่อความผิดของเจ้า และจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้าทั้งในยามเย็นและยามเช้า“ (อัลกุรอาน ฆอฟิร 40:55)
“และไม่มีผู้ใดได้รับมัน (คุณธรรมดังกล่าว) นอกจากบรรดาผู้อดทน และจะไม่มีผู้ใด ได้รับมัน นอกจากผู้ที่มีโชคลาภอันใหญ่หลวง“ (อัลกุรอาน ฟุศศิลัต 41:35)
“ขอสาบานด้วยกาลเวลา # แท้จริงมนุษย์นั้น อยู่ในการขาดทุน # นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย และตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน“ (อัลกุรอาน อัลอัศร์ 103:1-3)
...........................
เนื้อความบรรยาย
หลักการในการอดทนนั้นค่อนข้างยาก สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในยามที่เราสบาย (พูดง่ายๆคือ) อดทนในยามที่เราสบาย ยากและลำบากกว่าการอดทนในยามที่เราลำบาก เรากำลังพูดถึงความเป็นจริง เพราะโดยปกติแล้วในความเข้าใจของเราคือ เป็นการยากที่จะอดทนในยามที่เราลำบากมากกว่าในยามที่เราสบาย
ในช่วงที่เราสบาย เราต้องอดทนอย่างไรหรือ?
เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การอดทนนั้นมีสองหลักเกณฑ์ และหลักเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดของการอดทนคือการที่เราต้องระงับ ยับยั้ง การกระทำที่จะทำให้อัลลอฮ์ (ซบ.) ไม่พอพระทัย และต้องทำในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) พอพระทัยโดยไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนหลักเกณฑ์อีกประการหนึ่งคือ การที่เราปล่อยวางในยามที่เราประสบปัญหา
เมื่อไหร่หรือที่เราต้องยับยั้งการกระทำที่จะทำให้อัลลอฮ์ (ซบ.) ไม่พอพระทัย? เวลานั้นจะมาหาเราในยามที่เราสุขสบาย เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปในทางที่ดี ที่เราหวัง และประสบความสำเร็จทุกประการ มันจะเป็นเวลาที่เรามักจะไม่จงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) และเป็นเวลาที่ง่ายที่สุด ที่คนๆนึงจะขัดขืนอัลลอฮ์ (ซบ.) การที่เราจะอดทนโดยยับยั้งตัวเราไม่ให้ทำในสิ่งที่ผิดโดยการทำในสิ่งที่ดี ที่ถูกต้องนั้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยากที่สุดในยามที่ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปในทางที่เราหวัง และนี่คือเวลาที่ยากที่สุดสำหรับการอดทน
ในความเป็นจริงแล้ว เราจะเห็นว่าการอดทนในยามที่เราลำบาก แม้แต่กาเฟรยังทำได้ ความอดทนของพวกเขาออกมาจากสัญชาติญาณของความเป็นคน ลูกผู้ชายถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ “ลูกผู้ชายต้องไม่ร้องไห้“ ไม่ว่าจะลำบากแค่ไหนเขาจะไม่ร้องไห้ ซึ่งมันมาจากความเป็นลูกผู้ชายของเขา หรือการอดทนของเขาเกิดจากความคิดที่ใช้เหตุผล “ต่อให้เศร้าไปก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมา“
เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่าแม้แต่กาเฟรก็อดทนได้ ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับผู้ศรัทธา แต่แน่นอนความอดทนที่เกิดจากการกระทำโดยผู้ศรัทธานั้น เป็นเพราะความเข้าใจในสัจธรรมของสิ่งที่เกิดขึ้น
สำหรับกาเฟรแล้ว การที่ต้องอดทนในยามที่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามที่เขาหวัง เขาต้องการนั้น เป็นไปได้ยาก
สิ่งเดียวที่ทำให้คนๆนึงอดทน อดทนที่จะทำในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) สั่งและละเว้นในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ห้าม คือสิ่งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ “อีมาน“
ในช่วงที่เราสบาย เราต้องอดทนอย่างไรหรือ?
เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การอดทนนั้นมีสองหลักเกณฑ์ และหลักเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดของการอดทนคือการที่เราต้องระงับ ยับยั้ง การกระทำที่จะทำให้อัลลอฮ์ (ซบ.) ไม่พอพระทัย และต้องทำในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) พอพระทัยโดยไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนหลักเกณฑ์อีกประการหนึ่งคือ การที่เราปล่อยวางในยามที่เราประสบปัญหา
เมื่อไหร่หรือที่เราต้องยับยั้งการกระทำที่จะทำให้อัลลอฮ์ (ซบ.) ไม่พอพระทัย? เวลานั้นจะมาหาเราในยามที่เราสุขสบาย เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปในทางที่ดี ที่เราหวัง และประสบความสำเร็จทุกประการ มันจะเป็นเวลาที่เรามักจะไม่จงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) และเป็นเวลาที่ง่ายที่สุด ที่คนๆนึงจะขัดขืนอัลลอฮ์ (ซบ.) การที่เราจะอดทนโดยยับยั้งตัวเราไม่ให้ทำในสิ่งที่ผิดโดยการทำในสิ่งที่ดี ที่ถูกต้องนั้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยากที่สุดในยามที่ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปในทางที่เราหวัง และนี่คือเวลาที่ยากที่สุดสำหรับการอดทน
ในความเป็นจริงแล้ว เราจะเห็นว่าการอดทนในยามที่เราลำบาก แม้แต่กาเฟรยังทำได้ ความอดทนของพวกเขาออกมาจากสัญชาติญาณของความเป็นคน ลูกผู้ชายถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ “ลูกผู้ชายต้องไม่ร้องไห้“ ไม่ว่าจะลำบากแค่ไหนเขาจะไม่ร้องไห้ ซึ่งมันมาจากความเป็นลูกผู้ชายของเขา หรือการอดทนของเขาเกิดจากความคิดที่ใช้เหตุผล “ต่อให้เศร้าไปก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมา“
เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่าแม้แต่กาเฟรก็อดทนได้ ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับผู้ศรัทธา แต่แน่นอนความอดทนที่เกิดจากการกระทำโดยผู้ศรัทธานั้น เป็นเพราะความเข้าใจในสัจธรรมของสิ่งที่เกิดขึ้น
สำหรับกาเฟรแล้ว การที่ต้องอดทนในยามที่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามที่เขาหวัง เขาต้องการนั้น เป็นไปได้ยาก
สิ่งเดียวที่ทำให้คนๆนึงอดทน อดทนที่จะทำในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) สั่งและละเว้นในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ห้าม คือสิ่งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ “อีมาน“