ที่มาของวันวาเลนไทน์
เรื่อง ราวเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์นั้นก็เป็นเรื่องที่คลุมเครือ จะสืบหาประวัติอะไรที่แน่นอนก็ไม่ได้ได้แต่สันนิษฐานกันไป ไม่มีต้นกำเนิดของเรื่องและความเป็นมาที่ชัดเจน ในหนังสือหลักๆเท่าที่สันนิษฐานกัน พอสรุปได้ว่า
ก. วันวาเลนไทน์นี้เดิมเป็นการฉลองการเจริญพันธุ์ของพวกโรมันโบราณ ซึ่งเป็นการระลึกถึงเทพเจ้าลูเปอร์คุส (เทพแห่งการเจริญพันธุ์) ต่อมาภายหลังจึงได้รับเอาเข้ามาเป็นของคริสต์ศาสนา โดยโยงเข้ากับเรื่องการพลีชีพเพื่อศาสนาของนักบุญที่ชื่อวาเลนไทน์ ซึ่งมีวันฉลองใกล้กัน(ของเดิม 15 กุมภาพันธ์ ส่วนของนักบุญวันที่ 14 กุมภาพันธ์)
ข. ว่ากันว่า เซนต์วาเลนไทน์เป็นผู้พลีชีพเพื่อศาสนาคริสต์ ซึ่งถูกประหารชีวิตในกรุงโรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ.269 หรือ 270 และมี 2 ท่านชื่อซ้ำกัน แต่ประวัติของทั้งสองท่านเป็นเรื่องเล่ากันมาแบบปรัมปรา ซึ่งแท้จริงแล้วอาจเป็นเรื่องที่เล่าต่างกัน แต่ตัวบุคคลเป็นคนเดียวกัน
ค. การฉลองวันวาเลนไทน์เริ่มมีขึ้นในสมัยกลางของยุโรป แต่การที่ถือว่าเซนต์วาเลนไทน์เป็นนักบุญผู้อุดหนุนคู่รัก เป็นเรื่องที่กลายมาในช่วงหลัง โดยถือว่าเป็นผู้ช่วยเหลือคนมีความรักที่ตกอยู่ในความทุกข์ถูกข่มบังคับ
ง. การที่วันที่ระลึกเซนต์วาเลนไทน์กลายมาเป็นวันแห่งความรักนั้นเป็นเรื่อง บังเอิญ ซึ่งที่จริงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเซนต์วาเลนไทน์เลย แต่เรื่องมาโยงกันและกลายไป คง จะเนื่องจากชาวยุโรปสมัยกลางมีความเชื่อว่านกเริ่มฤดูผสมพันธุ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ การเขียนข้อความแสดงความรักส่งถึงกันในวันนี้ก็ว่าเริ่มมาแต่ปลายสมัยกลาง โดยถือว่าเป็นวันเริ่มฤดูผสมพันธุ์ของนกนั่นเอง (บ้างก็ว่าเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16) ส่วนในสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการจัดทำการ์ดวาเลนไทน์เป็นธุรกิจในช่วง ค.ศ.1840-1849
จ. "วาเลนไทน์" คือวันที่ชาวคริสต์ใช้เป็นสัญญลักษณ์แทนความระลึกถึง "เซนต์วาเลนไทน์" บุรุษผู้มีความรัก ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์จนทำให้เขาต้องจบชีวิตตัวเอง และหนุ่มผู้มีหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักนี้ ถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.270
เรื่องราวทั้งหมดก็มีอยู่ว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 สมัยที่จักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ปกครองอาณา-จักรโรมัน นักบุญวาเลนไทน์ซึ่งมีชื่อจริงว่า "วาเลนตินัส" เป็นผู้นำคริสเตียนที่มีความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์เป็นอย่างมาก นักบุญผู้นี้มักลอบนำข้าวของเครื่องใช้และอาหารไปวางไว้หน้าประตูบ้านของคน ยากจนเสมอๆ
เป็น เรื่องน่าเศร้า ที่สมัยนั้นอาณาจักรโรมันเป็นสังคมเทวนิยมจึงมีกฎห้ามไม่ให้ชาวโรมันนับถือ คริสต์ เมื่อเป็นเช่นนั้นทำให้วาเลนตินัสถูกทางการจับเข้าคุกโทษฐานที่เขาเป็น คริสเตียน
ครั้นพอเข้าไปอยู่ในคุก เขาก็บังเอิญไปพบรักกับหญิงตาบอดซึ่งเป็นลูกสาวผู้คุม วาเลนติ
นัส อธิษฐานต่อพระเจ้าขอให้ดวงตาของหญิงอันเป็นที่รักกลับมามองเห็นได้อย่างคน ปกติทั่วไปอีกครั้ง แล้วคำขอก็สัมฤทธิ์ผล ทำให้ครอบครัวของหญิงคนนั้นหันมานับถือพระเจ้า และพระเยซูตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อ จักรพรรดิทราบเรื่องก็โกรธมาก สั่งให้ทหารโบยวาเลนตินัสก่อนจะบัญชาการให้ทหารนำเอาตัวไปตัดศีรษะในตอนรุ่ง เช้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คืนสุดท้ายก่อนตาย เขาได้เขียนจดหมายอำลาคนรักลงท้ายว่า "จากวาเลนไทน์ของเธอ"
เรื่อง ราวของวาเลนตินัสเป็นที่ร่ำลือไปทั่วโลก เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้สร้างความประทับใจให้กับคนทั้งโลกโดยเฉพาะผู้ที่ นับถือศาสนาคริสต์ ดังนั้น ชาวคริสต์จึงถือเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์เพื่อระลึกถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของหนุ่มนักบุญคนนี้
ฉ. วันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรัก เริ่มต้นขึ้นมาจากวันฉลองเพื่อระลึกถึงคริสเตียน 2 คนที่เสียสละเพื่อมนุษย์ ชื่อ วาเลนไทน์ (Valentine) แต่ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันนี้ ก็ไม่มีสิ่งไหนที่เกี่ยวพันถึงชีวิตของนักบุญเหล่านี้ ประเพณีนี้บางทีจะมาจากประเพณีโรมันโบราณที่เรียกว่า ลูเปอร์คาเลีย(Lupercalia)ชาว โรมันฉลองวันลูเปอร์คาเลียเป็นประเพณีแห่งความรักของหนุ่มสาว ชายและหญิงสาวจะเลือกคู่สำหรับประเพณีนี้โดยการเขียนชื่อตนใส่กล่องและจับ ฉลาก เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความรัก และปกติเขาจะยังคงติดต่อสัมพันธ์กันเป็นเวลานานหลังจากประเพณีนี้ผ่านไปแล้ว หลายคู่ก็จะลงเอยด้วยการแต่งงาน
หลังจากที่ความเป็นคริสเตียนแพร่หลายออกไป ชาวคริสเตียนก็พยายามที่จะให้ความหมายของประเพณีนี้ในแง่ของคริสเตียน และพวกเขาเปลี่ยนมาใช้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ แต่ความหมายตามความรู้สึกแบบประเพณีเก่าก็ยังคงมีมาถึงปัจจุบัน
ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ ก.
จาก ข้อสันนิษฐาณในข้อ ก. ผู้เขียนพอสรุปเนื้อหาได้ว่า วันวาเลนไทน์เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าลูเปอร์คุส ของพวกโรมันโบราณต่อมาได้โยงเข้ากับเรื่องการพลีชีพของนักบุญที่ชื่อ "วาเลนไทน์" ซึ่งอยู่ในวันที่ใกล้เคียงกัน หากวันวาเลนไทน์มีที่มาจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจริง นั่นเท่ากับ ว่าไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์ โดยเด็ดขาด เพราะถ้ามุสลิมคนใดมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในวันดังกล่าว ก็เท่ากับว่าเขามีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองพิธีกรรมการรำลึกถึงพระเจ้าลูเปอร์ คุสซึ่งเป็นพระเจ้าที่ชาวโรมันสมัยโบราณนับถืออยู่
ดัง นั้น วันวาเลนไทน์ที่มาจากความเชื่อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเพียงวันที่ถูกกล่าวถึงวันแห่งความรักประการเดียว ทว่ายังเป็นวันที่รวมเอาความเชื่อ(อะกีดะฮ) ทางศาสนาของชาวโรมันโบราณเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ในหลักการของอิสลามได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนและรัดกุมว่า มุสลิมจะต้องไม่เคารพภักดีหรือเชื่อมั่นพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์อัลลอฮ เท่านั้น
พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน
(وَاعْبُدُوا اللهَ وَلا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئاً ) (سورة النساء: من الآية 36)
ความว่า "และพวกท่านจงเคารพภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺเถิด และพวกท่านจงอย่าตั้งสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์" (อัน-นิสาอ์ : 36)
ประเด็น ต่อมา ความเชื่อในการรำลึกถึงพระเจ้าลูเปอร์คุสถูกผนวกกับการพลีชีพเพื่อศาสนาของ นักบุญที่ชื่อ "วาเลนไทน์" ยิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มุสลิมไม่สามารถร่วมกิจกรรมในวันวาเลนไทน์ได้เลยแม้แต่ น้อย เพราะมุสลิมคนใดก็ตามที่ร่วมฉลองวันวาเลนไทน์ เท่ากับว่าเขาได้ร่วมเฉลิมฉลองแสดงความรำลึกถึงนักบุญที่ชื่อว่าวาเลนไทน์ อีกทั้งยังแสดงความอาลัยต่อการจากไปของนักบุญผู้นั้นอันสืบเนื่องมาจากการ พลีชีพเพื่อศาสนาของเขา เพราะหลักการของอิสลามมิได้บัญญัติถึงการอนุญาตให้ร่วมแสดงความอาลัยหรือ เฉลิมฉลองให้แก่บุคคลสำคัญท่านใดทั้งสิ้น
ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ ข.
ข้อ สันนิษฐาณเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ในข้อนี้พอสรุปได้ว่า เซนต์วาเลนไทน์เป็นผู้พลีชีพเพื่อศาสนาคริสต์ซึ่งถูกประหารชีวิตในกรุงโรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ.269 หรือ 270 ด้วยสาเหตุข้างต้น จึงกลายมาเป็นวันวาเลนไทน์จวบจนถึงปัจจุบันนี้ หากข้อมูลข้างต้นคือที่มาอันถูกต้องของวันวาเลนไทน์แล้ว ศาสนาอิสลามก็ไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมกิจจกรรมเกี่ยวกับวันดังกล่าว
พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอานว่า
(لَكُمْ دِينُكُمْ وَلِيَ دِينِ) (سورة الكافرون: 6)
ความว่า "สำหรับพวกท่านคือศาสนาของท่าน และสำหรับฉันคือศาสนาของฉัน" (อัล-กาฟิรูน : 6)
ประการ ถัดมา เซนต์วาเลนไทน์เป็นผู้พลีชีพเพื่อศาสนาคริสต์ ซึ่งถูกประหารชีวิตที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ.269 หรือ 270 แสดงให้เห็นว่านักบุญวาเลนไทน์เกิดก่อนท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ประมาณ 300 ปี เพราะท่านนบีเกิดประมาณ ค.ศ.570 แสดงว่าท่านน่าจะต้องทราบเรื่องราวของนักบุญวาเลนไทน์อยู่บ้าง เพราะ ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ที่อาศัยอยู่ในเมืองมักกะฮฺและมะดีนะฮมีจำนวนมากมาย แต่ไม่พบหลักฐานว่าท่านสั่งให้บรรดามุสลิมที่อยู่ร่วมกับท่าน(คือบรรดเศาะหา บะฮ) ทำการเฉลิมฉลองวันแห่งความรักดังกล่าว ใช่แต่เท่านั้น ท่านยังกำชับให้บรรดามุสลิมออกห่างจากการเลียนแบบชนกลุ่มอื่น โดยเฉพาะยะฮูดีย์(ยิว)และนัศรอนีย์(คริสเตียน)ไว้อีกด้วย ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ไม่ใช่พวกเรา ผู้ที่เลียนแบบแนวทางอื่นไปจากเรา พวกท่านอย่าได้เลียนแบบตามพวกยะฮูดีย์และนัศรอนีย์(ยิวและคริสต์)" (อัต-ติรมิซีย์ : 2695)
ข้อมูลชี้แจงข้อ ค.
ข้อ สันนิษฐานเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ในข้อนี้พอสรุปได้ว่า การฉลองวันวาเลนไทน์เริ่มขึ้นในสมัยกลางของยุโรป แต่เซนต์วาเลนไทน์ซึ่งเป็นนักบุญผู้อุดหนุนคู่รักกลายมาในช่วงหลัง โดยถือว่าเป็นผู่ช่วยเหลือบุคคลที่มีความรักซึ่งตกอยู่ในความทุกข์และถูกขู่ บังคับ หากข้อมูลข้างต้นเป็นที่มาที่ถูกต้องของวันวาเลนไทน์ ศาสนาก็ไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมกิจจกรรมในวันดังกล่าวด้วยเช่นกันเพราะนักบุญ วาเลนไทน์เป็นผู้อุดหนุนคู่รัก และช่วยเหลือบุคคลที่มีความรักให้สมหวัง หรือช่วยให้ผู้ที่มีความรักที่กำลังตกอยู่ในความทุกข์ได้รับความสุข ด้วยเหตุดังกล่าว วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีจึงเป็นวันแห่งความรัก อันสืบเนื่องมาจากนักบุญวาเลนไทน์ได้ช่วยเหลือบุคคลที่มีความรัก หากมุสลิมร่วมฉลองในวันดังกล่าวก็เท่ากับว่าเห็นด้วยกับแนวคิดของนักบุญวา เลนไทน์ในการให้บุคคลที่มีความรักได้สมหวัง แต่อิสลามสอนให้มุสลิมเห็นด้วยกับแนวทางที่มาจากพระองค์อัลลอฮฺ และแนวทางที่มาจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เท่านั้น ส่วนแนวทางที่มิได้มาจากพื้นฐานทั้งสองถือว่าจำเป็นต้องละทิ้ง ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า "สิ่ง ใดก็ตามที่ฉันสั่งใช้พวกท่าน พวกท่านจงยึดมั่นสิ่งนั้นไว้ และสิ่งใดก็ตามที่ฉันห้ามพวกท่าน พวกท่านจงละทิ้งสิ่งนั้นเสีย" (อิบนุ มาญะฮฺ : 1-2)
ประการต่อมา อิสลามไม่อนุมัติให้เชื่อฟังและปฎิบัติตามแนวความคิดของบรรดานักพรต บาทหลวง หรือผู้นำของศาสนาอื่นได้เลย
ท่าน อะดีย์ บุตรของหาติม กล่าวว่า "ฉันมาหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ขณะที่ฉันสวม(สร้อยคอ)ไม้กางเขนซึ่งทำมาจากทองที่คอของฉันเมื่อท่านนบีเห็น เช่นนั้นจึงกล่าวแก่ฉันว่า "โอ้อะดีย์ท่านจงโยนรูปเจว็ดนั้นทิ้งไปเสียเถิด!" จากนั้นฉันได้ยินท่านนบีอ่านอายะฮฺในสูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ ว่า
(اتَّخَذُوا أَحْبَارَهُمْ وَرُهْبَانَهُمْ أَرْبَاباً مِنْ دُونِ اللهِ ) (سورة التوبة: من الآية 31)
ความว่า "พวกเขาได้ยึดเอาบรรดาพวกนักพรต(นักปราชญ์ของยิว) และบรรดาบาทหลวง(ของคริสเตียน) ของพวกเขาเป็นพระเจ้าอื่นจากพระองค์อัลลอฮฺ" (อัต-เตาบะฮฺ : 31)
แล้ว ท่านนบีกล่าวต่ออีกว่า "พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพวกเขามิได้เคารพบรรดาบาทหลวงของพวกเขาหรอก แต่ทว่าเมื่อพวกเขา(หมายถึงนักปราชญ์ของยิว และบรรดาบาทหลวงของคริสเตียน)ทำสิ่งหนึ่งให้เป็นที่อนุมัติแก่พวกท่าน พวกท่านก็ทำให้สิ่งนั้นเป็นที่อนุมัติไปด้วย และเมื่อพวกเขาทำให้สิ่งหนึ่งเป็นที่ต้องห้ามสำหรับพวกท่าน พวกท่านก็จะทำให้สิ่งนั้นเป็นที่ต้องห้ามไปด้วย" (อัต-ติรมิซีย์ : 3095)
คำ กล่าวของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า สิ่งใดก็ตามที่มาจากนักปราชญ์ของยิวหรือบรรดาบาทหลวงของคริสเตียน หรือบรรดาผู้นำจากศาสนาอื่นๆ ซึ่งเป็นที่อนุมัติสำหรับพวกเขา มุสลิมจะนำมาปฏิบัติไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะการปฏิบัติตามพวกเขาถือเสมือนหนึ่งว่าได้ไปเคารพภักดีพวกเขาแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่แสดงภาพแห่งความเคารพด้วยท่าทางก็ตาม แต่เป็นการเคารพทางความคิดที่ถูกกลั่นกรองมาจากพื้นฐานเดิมของศาสนาที่พวก เขานับถืออยู่ ดังที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สั่งให้ท่านอะดีย์โยนสร้อยคอที่มีรูปไม้กางเขนทิ้ง เนื่อง จากไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ถึงแม้ว่าท่านอะดีย์จะ ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม แต่ประหนึ่งว่าท่านอะดีย์ได้เชื่อฟังคำสั่งของบาทหลวงของพวกเขาที่สั่งใช้ ให้แขวนไม้กางเขนดังกล่าว ถ้าเช่นนั้นผู้เขียนขอถามมุสลิมว่า วันวาเลนไทน์มาจากแห่งใด? วันวาเลนไทน์มาจากตาสีตาสาตามท้องไร่ท้องนาใช่ไหม? บุคคลที่กำหนดวันวาเลนไทน์คือบุคคลที่เลี้ยงแพะเลี้ยงแกะใช่ไหม?
ฉะนั้น จึงไม่ต้องตั้งคำถามอีกแล้วว่า มุสลิมจะร่วมกิจกรรมในวันวาเลนไทน์ได้หรือไม่? เพราะผู้เขียนเชื่อว่าพี่น้องมุสลิมทุกท่านคงตอบคำถามข้างต้นนี้ได้ทุกคน
ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ ง.
ข้อ สันนิษฐานเกี่ยวกับวาเลนไทน์ในข้อนี้พอสรุปได้ว่า การฉลองวันวาเลนไทน์เป็นเรื่องบังเอิญซึ่งไม่เป็นความจริง เพียงแต่ไปผนวกไว้กับช่วงที่นกเริ่มฤดูผสมพันธุ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวยุโรปในสมัยกลาง
หาก ข้อสันนิษฐานข้างต้นคือที่มาของวันวาเลนไทน์ที่แท้จริงแล้ว ศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดเข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้นอย่างเด็ดขาด
ประการ แรก มุสลิมจะไม่เชื่อโชคลางใดๆทั้งสิ้น ไม่เชื่อว่าเมื่อนกผสมพันธุ์กันในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะกลายเป็นวันแห่งความรักของมนุษย์ด้วย
ประการ ที่สอง มุสลิมจะต้องมอบหมายตนต่อพระองค์อัลลอฮเพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่อนุญาตให้มุสลิมมอบหมายตนยังสิ่งอื่น หรือมีความเชื่อต่อวันและเวลาอย่างเด็ดขาด ยกตัวอย่างเช่น หากมุสลิมผู้หนึ่งกล่าวอ้างว่า ถ้าแต่งงานในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ชีวิตคู่ของบ่าวสาวภายหลังจากนั้นจะมีแต่ความสุขสดชื่นตลอดไป ตามหลักการถือว่ามุสลิมผู้นั้นได้ตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮแล้ว เนื่องจากเขาถือชีวิตคู่จะมีความสุขไม่ได้นอกจากจะต้องแต่งงานกันในวันที่ 14 กุมภาพันธ์เท่านั้น เช่นนี้ถือว่ามุสลิมผู้นั้นมิได้มอบหมายตนต่อพระองค์อัลลอฮ แต่มอบหมายตนต่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์แทน
ประการ ที่สาม ศาสนาก็ไม่อนุญาตให้มุสลิมทำการอวยพรหรือแสดงความยินดีสำหรับผู้ที่แต่งงาน ในวันวาเลนไทน์ด้วยเช่นกัน เพราะถือว่าสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคคลอื่นมีความเชื่อต่อวันดังกล่าวว่า เป็นวันแห่งความดีงามและจะมีความรักอันยั่งยืนตลอดไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ (ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด)
ประการที่สี่ เนื่อง จากชาวยุโรปในสมัยกลางมีความเชื่อว่านกเริ่มผสมพันธุ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์จึงผนวกเข้ากับวันวาเลนไทน์ ซึ่งถือว่าเป็นวันแห่งความรักจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เช่นนี้เองศาสนาจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว เพราะถือว่าไปนำแบบอย่างของศาสนาอื่นมาปฏิบัติ ซึ่งท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า "บุคคลใดที่เลียนแบบกลุ่มชนอื่น ดังนั้นเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มนั้นด้วย" (อบู ดาวูด 4031)
ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ จ.
หาก ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์มีข้อสรุปว่า ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ถือว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันวาเลนไทน์ เพื่อระลึกถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของนักบุญที่ชื่อ วาเลนตินัส เช่นนั้นศาสนาอิสลามก็ไม่อนุมัติให้มุสลิมร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ประการ แรก การกำหนดวันวาเลนไทน์นั้นมาจากศาสนาคริสต์ ซึ่งท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวสำทับต่อบรรดามุสลิมว่า "พวกท่านจงอย่าเลียนแบบตามชาวยะฮูดีย์(ยิว) และชาวนัศรอนีย์(คริสเตียน)" (อ้างแล้ว) ฉะนั้น มุสลิมจึงต้องเข้มงวดในเรื่องการไม่ปฎิบัติตามพฤติกรรมที่มีพื้นฐานความเชื่อมาจากศาสนาอื่น
ประการ ที่สอง ศาสนาจะอนุญาตให้ปฏิบัติตามแนวทางของศาสนาอื่นได้ โดยมีเงื่อนไขว่าท่านนบีจะต้องเป็นผู้อนุมัติสิ่งนั้นเสียก่อน หรือท่านนบีปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่น การถือศีลอดในวันที่ 10 เดือนมุหัรร็อม ซึ่งครั้งหนึ่งนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เดินทางกลับมายังเมืองมะดีนะฮฺ ก็พบว่าพวกยิวกำลังถือศีลอดอยู่ ท่านนบีจึงเอ่ยถามขึ้นว่า พวกท่านถือศีลอดอะไรกัน? พวกเขาตอบว่า วันนี้(หมายถึงวันที่ 10 มุหัรร็อม ) พระองค์อัลลอฮฺทรงช่วยเหลือนบีมูซา(โมเสส)ในวันดังกล่าว ส่วนฟิรเอาน์จมน้ำสิ้นชีวิต(ในวันนั้นด้วย) ดังนั้นท่านนบีมูซาจึงถือศีลอดในวันดังกล่าวเพื่อขอบคุณ(ต่อพระองค์อัลลอฮฺ) ท่านนบีจึงกล่าวขึ้นว่า เรามีสิทธิต่อท่านนบีมูซามากกว่าพวกท่าน และท่านนบีจึงได้กำชับให้บรรดามุสลิมถือศีลอดกันในวันนั้น
ถึง แม้ว่าท่านนบีจะกำชับให้ถือศีลอดในวันดังกล่าว แต่ทว่าท่านก็ยังได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติตัวของ มุสลิมชาวยิว โดยให้บรรดามุสลิมถือศีลอดในวันที่ 9 มุหัรร็อมเพิ่มอีกหนึ่งวัน และท่านนบียังตั้งเจตคติไว้ว่า เมื่อถึงเดือนมุหัรร็อมในปีหน้าจะถือศีลอดในวันที่ 9 เพิ่มอีกวันหนึ่ง ครั้นยังไม่ถึงปีหน้าท่านนบีก็สิ้นชีวิตเสียก่อน จึงเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ส่งเสริมให้บรรดามุสลิมถือศีลอดในวันที่ 9 และ 10 ของเดือนมุหัรร็อมรวมเป็นสองวัน ซึ่งต่างจากชาวยิวที่ถือศีลอดเพียงวันเดียว
ข้อมูลชี้แจงสำหรับข้อ ฉ.
ประเด็น ชี้แจงเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์สำหรับข้อนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเนื้อหาก็ไม่แตกต่างจากประเด็นอื่นๆ ซึ่งได้อธิบายมาแล้วค่อนข้างละเอียด ดังนั้นจึงไม่ขออธิบายอีก
สรุป
จากรายละเอียดที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด พอที่จะสรุปให้เป็นบทเรียนและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้
1. มุสลิมจะต้องไม่นำสิ่งอื่นที่มิใช่อิสลาม หรือนำระบอบการดำเนินชีวิตอื่นจากอิสลามมาปฏิบัติ ดังที่พระองค์อัลลอฮได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า
(وَمَنْ يَبْتَغِ غَيْرَ الْإِسْلامِ دِيناً فَلَنْ يُقْبَلَ مِنْهُ ) (سورة آل عمران: من الآية 85)
ความ ว่า "และบุคคลใดก็ตามที่แสวงหาศาสนาอื่นจากศาสนาอิสลาม ศาสนานั้นจะไม่ถูกรับจากเขา (หมายความว่าพระองค์อัลลอฮจะไม่ทรงรับศาสนานั้นจากเขาเป็นอันขาด)" (อาล อิมรอน : 85)
ดังนั้นวิถีชีวิตของมุสลิมจะต้องดำเนินตามแนวทางของอิสลามเท่านั้น จะนำวิถีอื่นจากอิสลามมาปฏิบัติมิได้ หากมุสลิมไปปฏิบัติตามแนวทางอื่น แน่นอน การงานที่เขาปฏิบัตินั้นจะไม่ถูกตอบรับจากพระองค์อัลลอฮอย่างเด็ดขาด ดังที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้ในอายะฮฺอัลกุรอานข้างต้น
2. ไม่อนุญาตให้มุสลิมเลียนแบบพฤติกรรมพวกยะฮูดีย์ และนัศรอนีย์ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวเตือนไว้ว่า "แน่นอนอย่างยิ่ง พวกท่านจะปฏิบัติตามแนวทางของกลุ่มชนก่อนหน้าพวกท่านคืบตามคืบ ศอกตามศอก ตามจนกระทั่งว่า หากพวกเขาเข้าลงรูแย้ พวกท่านก็จะตามพวกเขาเข้ารูแย้เช่นกัน" บรรดาเศาะหาบะฮกล่าวถามว่า "พวกเราจะตามพวกยะฮูดีย์และนัศรอนีย์ใช่ไหม?" ท่านนบีตอบว่า "แล้วจะมีพวกไหนอีกล่ะ!" (อัล-บุคอรีย์ : 3269 มุสลิม : 2669)
คำ กล่าวของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ข้างต้นได้ฉายภาพแห่งการเลียนแบบได้อย่างชัดเจนที่สุด มุสลิมจะเลียนแบบพวกยิว และคริสเตียนทุกย่างก้าว ไม่ว่าพวกเขาจะปฏิบัติอย่างไร มุสลิมเก็บตกมาปฏิบัติจนเกือบหมดไม่เว้นแม้แต่วันวาเลนไทน์ซึ่งมาจากศาสนา คริสเตียนอันเป็นที่รู้กันดีอยู่ แต่มุสลิมก็ยังปฏิบัติตามพวกเขาอยู่ ทั้งๆที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวสำทับไว้อย่างหนักแน่นว่า อย่าเดินตามแนวทางของพวกเขาโดยเด็ดขาด เพราะมิเช่นนั้น แล้วภาพลักษณ์ของความเป็นมุสลิมจะหายไป แล้วมีมุสลิมกี่คนที่ตอบสนองต่อคำสอนและคำสำทับดังกล่าวนั้น
3. มุสลิมจะต้องดำเนินชีวิตอย่างคนแปลกหน้า ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า "แท้จริง อิสลามเริ่มต้นอย่างคนแปลกหน้า และจะหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่งอย่างคนแปลกหน้า ดังนั้นจงแจ้งข่าวดีกับคนแปลกหน้าเถิด(คนแปลกหน้าหมายถึง) บรรดาผู้ซึ่งฟื้นฟูแนวทางของฉันขณะที่ผู้คนทั้งหลายสร้างความเสื่อมเสียภาย หลังจากฉัน(หมายถึงภายหลังจากที่ท่านนบีมุหัมมัดสิ้นชีวิตไปแล้ว)” (มุสลิม : 145, อะห์มัด : 16736 สำนวนนี้เป็นของท่าน)
ท่านนบีมุหัมมัดกำลังจะบอกกับบรรดามุสลิมว่า ให้มุสลิมดำรงค์ชีวิตเฉกเช่นคนแปลกหน้า แปลกหน้าในที่นี้หมายถึงให้ปฏิบัติตามแนวทางที่มาจากพระองค์อัลลอฮ และแนวทางที่มาจากท่านนบีมุหัมมัดในการใช้ชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าสิ่งที่มุสลิมเพียงคนเดียวกำลังปฏิบัติอยู่นั้นจะสวนกระแสของสังคม หรือสังคมส่วนใหญ่จะไม่ปฏิบัติและเกลียดชังก็ตาม มุสลิมก็จะต้องยืนหยัดอยู่เช่นนั้นตลอดไป เพราะอย่างไรเสียอิสลามเกิดมาอย่างคนแปลกหน้าอยู่แล้ว ในไม่ช้าอิสลามก็จะหวนกลับมาอีกครั้งอย่างคนแปลกหน้าเช่นกัน ดังนั้นมุสลิมทุกคนที่ปฏิบัติตามหลักการของศาสนาพึงดีใจเถิดที่มีส่วนทำให้อิสลามจะได้หวนหลับมาอีกครั้งหนึ่งในอนาคต
จึงเป็นเรื่องที่ตรงประเด็นที่สุดสำหรับคำถามที่ว่า มุสลิมจะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในวันวาเลนไทน์ได้หรือไม่? เพราะจะตอบได้ทันทีว่า หากมุสลิมคนใดที่ร่วมกิจกรรมในวันนั้นถือว่าไม่ใช่คนแปลกหน้า เพราะนั่นเป็นการทำตนเหมือนคนอื่นๆ ในสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เห็นชอบและดีใจที่มีสมาชิกมาร่วมกิจกรรมดังกล่าว แตกลับเป็นที่กริ้วโกรธของพระองค์อัลลอฮ เพราะไม่ทำตนเป็นคนแปลกหน้าในการฟื้นฟูให้อิสลามได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ในทางตรงกันข้ามหากมุสลิมคนใดที่ไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว ถึงแม้จะร่วมเพียงเล็น้อยด้วยการกล่าวคำอวยพรให้กันในวันนั้นเขาก็ไม่กระทำมาตรว่า ผู้คนส่วนใหญ่จะชิงชังในการทำตัวแปลกประหลาดของเขาก็ตามเถิด แต่ในทัศนะของอิสลามถือว่าเขาอยู่ในตำแหน่งของคนแปลกหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะช่วยฟื้นฟูให้อิสลามได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง และพระองค์อัลลอฮทรงพึงพอใจอย่างยิ่งกับตำแหน่งดังกล่าว