ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
มารยาทในการกินและดื่ม
อาหารของมุสลิม : ต้องดีและเป็นที่อนุมัติ
1.อัลลอฮฺได้กล่าวว่า :
«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُلُواْ مِن طَيِّبَاتِ مَا رَزَقْنَاكُمْ وَاشْكُرُواْ لِلّهِ إِن كُنتُمْ إِيَّاهُ تَعْبُدُونَ» (البقرة : 172)
ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย สูเจ้าจงบริโภคสิ่งที่ดีจากสิ่งที่เราได้ประทานแก่สูเจ้า และจงขอบคุณต่ออัลลอฮฺ หากสูเจ้าเคารพสักการะแต่เพียงต่อพระองค์ (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 172)
2.อัลลอฮฺได้กล่าวว่า :
«الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ الرَّسُولَ النَّبِيَّ الأُمِّيَّ الَّذِي يَجِدُونَهُ مَكْتُوباً عِندَهُمْ فِي التَّوْرَاةِ وَالإِنْجِيلِ يَأْمُرُهُم بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَاهُمْ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُحِلُّ لَهُمُ الطَّيِّبَاتِ وَيُحَرِّمُ عَلَيْهِمُ الْخَبَآئِثَ وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ وَالأَغْلاَلَ الَّتِي كَانَتْ عَلَيْهِمْ فَالَّذِينَ آمَنُواْ بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُواْ النُّورَ الَّذِيَ أُنزِلَ مَعَهُ أُوْلَـئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ» (الأعراف : 157)
ความว่า : คือ บรรดาผู้ปฏิบัติตามเราะซูลผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็นดังที่พวกเขาพบเขา (นบี) ถูกจารึกไว้ ณ.ที่พวกเขา ทั้งในอัล-เตารอต และในอัล-อินญีล โดยที่เขา (นบี) จะใช้พวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามพวกเขามิให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบและจะอนุมัติสิ่งที่ดี ๆให้แก่พวกเขา และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขาซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา ยกย่องเชิดชูและช่วยเหลือเขา อีกทั้งยังปฏิบัติตามแสงสว่างที่ถูกประทานลงมาแก่เขาแล้วไซร้ ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ (อัล-อะอฺรอฟ : 157)
การกล่าวบิสมิลลาฮฺก่อนทานอาหารและเริ่มรับประทานสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อน
1.จากอุมัร บินอบีสะละมะฮฺกล่าวว่า :
كُنْتُ غُلاَمًا فِى حَجْرِ رَسُولِ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - وَكَانَتْ يَدِى تَطِيشُ فِى الصَّحْفَةِ فَقَالَ لِى رَسُولُ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - « يَا غُلاَمُ سَمِّ اللهَ ، وَكُلْ بِيَمِينِكَ وَكُلْ مِمَّا يَلِيكَ » . فَمَا زَالَتْ تِلْكَ طِعْمَتِى بَعْدُ .
ความว่า : ฉันเคยเป็นเด็กอยู่ในบ้านของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและ (ในตอนกินอาหาร) มือของฉันคลำแตะทั่วถาด ท่านเราะสูลุลลอฮฺจึงบอกกับฉันว่า “โอ้ เด็กเอ๋ย จงกล่าวบิสมิลลาฮฺ และจงทานด้วยมือขวาของเจ้า และจงทานสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเจ้าก่อน” แล้วหลังจากนั้น มันก็กลายเป็นความเคยชินของฉันตลอดมา (อัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5376 และมุสลิม หมายเลข 2022)
2.อิบนุมัสอูด กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
« مَنْ نَسِيَ أَنْ يَذْكُرَ اللهَ في أَوَّلِ طَعَاِمهِ فَلْيَقُلْ بِسْمِ اللهِ فِى أَوَّلِهِ وَآخِرِهِ ، فإنَّهُ يَسْتَقْبِلُ طَعَامَهُ جَدِيدًا، ويَمْنَعُ الخَبِيثَ ما كانَ يُصِيبُ مِنْهُ ».
ความว่า : ผู้ใดที่ลืมกล่าวถึงอัลลอฮฺในตอนแรกของ (การรับประทาน) อาหารของเขา ขอให้เขาจงกล่าวว่า “บิสมิลลาฮฺ ฟี เอาวะลิฮิ วะอาคิริฮฺ” เพราะทำให้เขาเริ่มรับประทานใหม่และป้องกันไม่ให้ (ชัยฏอน)ตัวร้ายได้รับส่วนแบ่งจาก (อาหาร) นั้น (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอิบนุหิบบาน หมายเลข 5213 และบันทึกโดยอิบนุสุนนีย์ หมายเลข 461 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 198)
การกินและดื่มด้วยมือขวา
มีรายงานจากอิบนุอุมัร ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ فَلْيَأْكُلْ بِيَمِينِهِ وَإِذَا شَرِبَ فَلْيَشْرَبْ بِيَمِينِهِ فَإِنَّ الشَّيْطَانَ يَأْكُلُ بِشِمَالِهِ وَيَشْرَبُ بِشِمَالِهِ».
ความว่า : เมื่อผู้ใดในพวกท่านจะกินก็จงกินด้วยมือขวา และเมื่อจะดื่มก็จงดื่มด้วยมือขวา เพราะแท้จริงแล้วชัยฏอนนั้นจะกินด้วยมือซ้ายและจะดื่มด้วยมือซ้าย (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2020)
การหายใจนอกภาชนะในตอนดื่ม
จากอนัส กล่าวว่า :
كَانَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- يَتَنَفَّسُ فِى الشَّرَابِ ثَلاَثًا وَيَقُولُ «إِنَّهُ أَرْوَى وَأَبْرَأُ وَأَمْرَأُ». قَالَ أَنَسٌ فَأَنَا أَتَنَفَّسُ فِى الشَّرَابِ ثَلاَثًا.
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะหยุดเพื่อหายใจสามครั้งเมื่อดื่มเครื่องดื่ม โดยท่านกล่าวว่า “มันทำให้อิ่มกว่า ปลอดภัยกว่า และน่าดูกว่า” อนัสกล่าวว่า ฉันเองจึงหยุดเพื่อหายใจสามครั้งเมื่อฉันดื่ม (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5631 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2028)
จะรินเครื่องดื่มให้คนอื่นอย่างไร ?
มีรายงานจากอนัส บินมาลิก ว่า :
أَنَّ رَسُولَ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- أُتِىَ بِلَبَنٍ قَدْ شِيبَ بِمَاءٍ وَعَنْ يَمِينِهِ أَعْرَابِىٌّ وَعَنْ يَسَارِهِ أَبُو بَكْرٍ فَشَرِبَ ثُمَّ أَعْطَى الأَعْرَابِىَّ وَقَالَ «الأَيْمَنَ فَالأَيْمَنَ ».
ความว่า : มีคนนำนมที่ผสมกับน้ำมาให้แก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยที่ด้านขวาของท่านมีชายเบดูอินอยู่ และที่ด้านขวามีอบูบักรฺอยู่ ท่านจึงดื่มแล้วยื่นให้ชายเบดูอินนั้น และกล่าวว่า “ด้านขวาแล้วก็ด้านขวา” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2352 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2029)
ไม่ดื่มพลางยืน
1. มีรายงานจากอบีสะอีด อัลคุดรียฺ ว่า :
أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- زَجَرَ عَنِ الشُّرْبِ قَائِمًا.
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการดื่มพลางยืน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2025)
2.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ ว่า :
أنَّ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- رَآى ِرَجُلاً يَشْرَبُ قَائِماً فقالَ لَهُ:«قِه». قَالَ: لِمَه؟ قَالَ :«أَيَسُرُّكَ أَنْ يَشْرَبَ مَعَك الْهِرُِّ؟». قَالَ : لا. قَالَ :« فَقَدْ شَرِبَ مَعَكَ مَنْ هُوَ شَرٌّ مِنْهُ الشَّيْطَانُ».
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เห็นชายคนหนึ่งกำลังยืนดื่ม ท่านเลยกล่าวกับเขาว่า “จงอาเจียนออกซะ” เขาถามว่า “ทำไม่หล่ะ ? ท่านตอบว่า “ท่านชอบหรือที่จะให้แมวดื่มพร้อมกับท่าน ? เขาตอบว่า “ไม่” ท่านกล่าวว่า “ เพราะแท้จริงแล้ว มีตัวที่เลวกว่ามันอีกที่ร่วมดื่มพร้อมกับท่าน มันคือชัยฏอนอย่างไรล่ะ” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด หมายเลข 7990 และบันทึกโดยอัลดาริมีย์ หมายเลข 2052 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 175)
ไม่ทานและดื่มในภาชนะทองคำและเงิน
จากหุซัยฟะฮฺ กล่าวว่า :
سَمِعْتُ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - يَقُولُ «لاَ تَلْبَسُوا الْحَرِيرَ وَلاَ الدِّيبَاجَ وَلاَ تَشْرَبُوا فِى آنِيَةِ الذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ ، وَلاَ تَأْكُلُوا فِى صِحَافِهَا ، فَإِنَّهَا لَهُمْ فِى الدُّنْيَا وَلَنَا فِى الآخِرَةِ» .
ความว่า : ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “พวกท่านจงอย่าสวมใส่ผ้าไหมหรือ และจงอย่าดื่มในภาชนะทองคำหรือเงิน และจงอย่าทานในจานของมัน(ทองและเงิน) เพราะมันเป็นของพวกเขา(ผู้ปฏิเสธศรัทธา)ในโลกดุนยาและเป็นของพวกเราในวันอาคิเราะฮฺ” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5426 และมุสลิม หมายเลข 2067)
จะทานอาหารอย่างไร ?
1.มีรายงานจากกะบฺ บินมาลิก ว่า :
كَانَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- يَأْكُلُ بِثَلاَثِ أَصَابِعَ وَيَلْعَقُ يَدَهُ قَبْلَ أَنْ يَمْسَحَهَا.
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นจะกินด้วยสามนิ้ว และจะเลียมือของท่านก่อนที่จะเช็ดมัน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2032)
2.มีรายงานจากอนัส ว่า :
أَنَّ رَسُولَ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- كَانَ إِذَا أَكَلَ طَعَامًا لَعِقَ أَصَابِعَهُ الثَّلاَثَ. قَالَ وَقَالَ «إِذَا سَقَطَتْ لُقْمَةُ أَحَدِكُمْ فَلْيُمِطْ عَنْهَا الأَذَى وَلْيَأْكُلْهَا وَلاَ يَدَعْهَا لِلشَّيْطَانِ ». وَأَمَرَنَا أَنْ نَسْلُتَ الْقَصْعَةَ قَالَ «فَإِنَّكُمْ لاَ تَدْرُونَ فِى أَىِّ طَعَامِكُمُ الْبَرَكَةُ».
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เมื่อท่านกินอาหาร ท่านจะเลียนิ้วของท่านสามครั้ง และท่านได้กล่าวว่า “ เมื่ออาหารคำหนึ่งของพวกท่านคนใดตกหล่น ท่านจงหยิบมาเช็ดสิ่งแปลกปลอมออกและจงกินมัน และอย่าได้ทิ้งมันให้กับชัยฏอน” และท่านยังได้สั่งพวกเราให้กินจนเกลี้ยงชาม ท่านกล่าวว่า “เพราะแท้จริงแล้ว พวกท่านไม่รู้หรอกว่าอาหารชิ้นใดที่เป็นชิ้นที่บะเราะกะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2034)
3.มีรายงานจากอิบนุอุมัร ว่า :
نَهَى رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- أَنْ يَقْرِنَ الرَّجُلُ بَيْنَ التَّمْرَتَيْنِ حَتَّى يَسْتَأْذِنَ أَصْحَابَهُ.
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามไม่ให้คนกินอินทผาลัมควบสองเม็ดในคำเดียวจนกว่าเขาจะขออนุญาตเพื่อนๆ ของเขาก่อน (หมายถึง เวลากินอินทผาลัมร่วมกับคนอื่น ให้กินคำละเม็ด ห้ามไม่ให้กินคำเดียวสองเม็ด จนกว่าจะขออนุญาตจากเพื่อนๆ เพราะเป็นการเอาเปรียบคนอื่น และแสดงถึงความตะกละและการไม่มีมารยาท – ผู้แปล) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2455 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2045)
4.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«لِيَأْكُلْ أَحَدُكُمْ بِيَمِينِهِ وَلْيَشْرَبْ بِيَمِينِهِ وَلْيَأْخُذْ بِيَمِينِهِ وَلْيُعْطِ بِيَمِينِهِ فَإِنَّ الشَّيْطَانَ يَأْكُلُ بِشِمَالِهِ وَيَشْرَبُ بِشِمَالِهِ وَيُعْطِى بِشِمَالِهِ وَيَأْخُذُ بِشِمَالِهِ ».
ความว่า : “พวกท่านทุกคนจงทานด้วยมือขวา และจงดื่มด้วยมือขวา จงรับด้วยมือขวาและจงให้ด้วยมือขวา เพราะแท้จริงแล้วชัยฏอนนั้นจะทานด้วยมือซ้าย ดื่มด้วยมือซ้าย จะให้ด้วยมือซ้าย และจะรับด้วยมือซ้าย” (หะสัน บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3266 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2643 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 1236)
ปริมาณอาหารที่รับประทาน
จากมิกดาม บิน มะดีกะริบ เล่าว่า :
سَمِعْتُ رَسُولَ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُولُ «مَا مَلأَ آدَمِىٌّ وِعَاءً شَرًّا مِنْ بَطْنٍ بِحَسْبِ ابْنِ آدَمَ أُكُلاَتٌ يُقِمْنَ صُلْبَهُ فَإِنْ كَانَ لاَ مَحَالَةَ فَثُلُثٌ لِطَعَامِهِ وَثُلُثٌ لِشَرَابِهِ وَثُلُثٌ لِنَفَسِهِ ».
ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : “มนุษย์ไม่เคยบรรจุลงในภาชนะอันใดที่เลวยิ่งกว่า(การบรรจุลงใน) ท้อง เพียงพอแล้วสำหรับลูกหลานอาดัมด้วยอาหารเพียงไม่กี่คำที่สามารถจะยกหลังของเขา (หมายถึงสามารถประทังชีวิตและสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย - ผู้แปล) หรือหากจำเป็นจริง ๆ แล้ว ก็ (จงเตรียมท้องไว้สามส่วน) ส่วนหนึ่งสำหรับอาหาร ส่วนหนึ่งสำหรับเครื่องดื่ม และอีกส่วนหนึ่งสำหรับลมหายใจ” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลติรมีซีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2380 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 1939 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3349 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2704)
ไม่ตำหนิอาหาร
จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า :
مَا عَابَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - طَعَامًا قَطُّ ، إِنِ اشْتَهَاهُ أَكَلَهُ ، وَإِنْ كَرِهَهُ تَرَكَهُ .
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยตำหนิอาหารเลย หากท่านชอบท่านก็จะทาน และหากท่านไม่ชอบ ท่านก็จะละจากมันเสีย (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5409 และมุสลิม หมายเลข 2064)
ไม่ทานมากจนเกินไป
มีรายงานจากอิบนุอุมัร ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«الْكَافِرُ يَأْكُلُ فِى سَبْعَةِ أَمْعَاءٍ وَالْمُؤْمِنُ يَأْكُلُ فِى مِعًى وَاحِدٍ».
ความว่า : “คนกาเฟรเขาจะทาน (อาหาร) ในปริมาณเจ็ดกระเพาะ ส่วนคนมุมินเขาจะทาน (อาหาร) ในปริมาณเพียงกระเพาะเดียว” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5393 และมุสลิม ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2060)
ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารและให้ความช่วยเหลือแก่คนอื่น
มีรายงานจากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ ว่าท่านได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
«طَعَامُ الْوَاحِدِ يَكْفِى الاِثْنَيْنِ وَطَعَامُ الاِثْنَيْنِ يَكْفِى الأَرْبَعَةَ وَطَعَامُ الأَرْبَعَةِ يَكْفِى الثَّمَانِيَةَ».
ความว่า : “อาหารสำหรับหนึ่งคนจะพอสำหรับสองคน อาหารสำหรับสองคนจะพอสำหรับสี่คน และอาหารสำหรับสี่คนจะพอสำหรับแปดคน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2059)
มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บินอัมร์ ว่า :
أَنَّ رَجُلاً سَأَلَ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - أَىُّ الإِسْلاَمِ خَيْرٌ قَالَ «تُطْعِمُ الطَّعَامَ ، وَتَقْرَأُ السَّلاَمَ عَلَى مَنْ عَرَفْتَ ، وَعَلَى مَنْ لَمْ تَعْرِفْ »
ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า : (คำสอนของ) อิสลามอันไหนดีที่สุด ? ท่านตอบว่า “ ท่านเลี้ยงอาหารและให้สลามแก่คนที่ท่านรู้จักและคนที่ท่านไม่รู้จัก” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6236 และมุสลิม หมายเลข 39)
จากอบีอัยยูบ อัลอันศอรียฺ กล่าวว่า :
قَالَ كَانَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- إِذَا أُتِىَ بِطَعَامٍ أَكَلَ مِنْهُ وَبَعَثَ بِفَضْلِهِ إِلَىَّ.
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้น เมื่อมีคนนำอาหารมาให้ ท่านจะทานส่วนหนึ่ง และจะส่งส่วนที่เหลือมาให้ฉัน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2053)
การกล่าวชื่นชมอาหารของผู้ทาน
มีรายงานจากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ ว่า :
أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- سَأَلَ أَهْلَهُ الأُدُمَ فَقَالُوا مَا عِنْدَنَا إِلاَّ خَلٌّ. فَدَعَا بِهِ فَجَعَلَ يَأْكُلُ بِهِ وَيَقُولُ «نِعْمَ الأُدُمُ الْخَلُّ نِعْمَ الأُدُمُ الْخَلُّ».
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถามคนในบ้านของท่านถึงเครื่องปรุงรสหรือกับอาหาร พวกเขาตอบว่า พวกเราไม่มีสิ่งอื่นใดนอกจากน้ำส้มสายชู ท่านจึงขอให้นำมาแล้วท่านก็รับประทาน และกล่าวว่า “ช่างเป็นเครื่องปรุงรสที่เลิศจริงๆ เจ้าน้ำสมสายชูนี้ ช่างเป็นเครื่องปรุงรสที่เลิศจริงๆ เจ้าน้ำสมสายชูนี้” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2052)
ไม่เป่าลมรดเครื่องดื่ม
จากอบีสะอีด อัลคุดรียฺ กล่าวว่า :
نَهَى رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- عَنِ الشُّرْبِ مِنْ ثُلْمَةِ الْقَدَحِ وَأَنْ يُنْفَخَ فِى الشَّرَابِ.
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามดื่มน้ำจากภาชนะ (แก้ว) ที่ปากแตกร้าว และห้ามเป่าลมรดเครื่องดื่ม (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3722 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3165 และบันทึกโดยอัลติรมีซีย์ หมายเลข 1887 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 1538)
ผู้ให้บริการน้ำแก่คนอื่นต้องดื่มหลังสุด
จากอบีเกาะตาดะฮฺ กล่าวว่า :
خَطَبَنَا رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- وفي آخره قَالَ: «إِنَّ سَاقِىَ الْقَوْمِ آخِرُهُمْ شُرْبًا».
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวคุฏบะฮฺแก่พวกเรา โดยในตอนท้ายท่านกล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ผู้ที่ให้บริการน้ำแก่คนอื่นนั้น ต้องดื่มเป็นคนสุดท้าย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 681)