การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 30
การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน
ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ภรรยาของท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เล่าว่า ท่านรอซูลได้ทำการอิอฺติก้าฟในช่วงสิบวัน
สุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน(โดยไม่เคยละทิ้ง) จนกระทั่งอัลลอฮฺได้นำชีวิต
ของท่านไป หลังจากนั้นบรรดาภริยาของท่านก็ได้เจริญรอยตามด้วยการอิอฺติ
กาฟ หลังจากท่านเสียชีวิต (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1886 และ
มุสลิม หมายเลข 2006)
คำอธิบายหะดีษ
ความหมายของคำว่า “ اِ عْ تِ ﻜَﺎ ف ” (อิอฺติกาฟ) นั้น อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าว
ว่า การอิอฺติกาฟทางภาษาหมายถึง การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสม่ำเสมอและจำกัดตัวเองใน
ความสม่ำเสมอดังกล่าว ส่วนความหมายทางวิชาการคือ การพำนักอยู่ในมัสยิดด้วยการกระทำที่
เฉพาะเจาะจง
บรรดาอุลามาอ์มัซฮับทั้งสี่และมวลมุสลิมมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า หุก่มของการอิอฺติ
กาฟในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนนั้นเป็น สุนัต มุอักกะดะฮฺ (สุนัตที่ส่งเสริมและ
เน้นหนักให้ปฏิบัติอย่างยิ่ง) เนื่องจากเป็นการเจริญรอยตามซุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะ
ลัยฮิวะสัลลัม และเป็นการเชิญชวนเพื่อค้นหาค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ (ชัรหฺ เศาะฮีหฺ มุสลิม 8/67)
2
บทเรียนจากหะดีษ
1. การอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอนเป็นอะมัลที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ
วะสัลลัม ได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งท่านเสียชีวิตลง
2. ส่งเสริมให้ทำอิอฺติกาฟตลอดทั้งสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน
3. มีการกำหนด วัน เวลา และเดือนสำหรับการอิอฺติกาฟ คือ สิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน
4. หุก่ม (สุนัต) ในการอิอฺติกาฟนั้นชัดเจน และไม่มีการโมฆะแม้กระทั่งหลังจากที่ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ซึ่งการอิอฺติกาฟยังได้รับการปฏิบัติต่อเนื่อง
มาโดยบรรดาภรรยาของท่านด้วยการอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน
5. อิอฺติกาฟสำหรับเหล่าสตรีนั้นจะมีเงื่อนไขเฉพาะ เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้เป็นสามีหรือ
จากวะลีย์ของเธอ หากการอิอฺติกาฟทำภายในมัสยิดญามิอฺ(มัสยิดที่รวมคนละหมาดจำนวนมาก)
สตรีจะต้องอยู่ในบริเวณที่เฉพาะแยกต่างหากจากผู้ชาย และเป็นสถานที่ที่ไม่ก่อความแออัดแก่ผู้
ที่มาละหมาด ตลอดจนเงื่อนไขอื่นๆ เกี่ยวกับสตรีขณะอยู่ในมัสยิด