บทความ




ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ


เรื่องที่ 90


การขออภัยโทษ


การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสดุดีและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...


ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


ความว่า “แน่แท้มันเป็นความพลั้งเผลอที่อาจเกิดขึ้นในจิตใจของฉัน ทำให้ฉันต้องขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺในแต่ละวันถึง 100 ครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม หน้า : 1083 หมายเลข : 2702)


4


และอิบนุอุมัร เราะฏิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า


ได้ถึง 100 ครั้ง” (บันทึกโดยอบูดาวุด หน้า : 180 หมายเลข : 1516)


ชัยคฺอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “บ่าวผู้ตํ่าต้อยแต่ละคนจะดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ซึ่งจำเป็นที่เขาจะต้องขอบคุณ หรือไม่ก็อยู่ท่ามกลางความผิดพลาดบกพร่อง ซึ่งจำเป็นจะต้องขออภัยโทษ นี่แหล่ะคือสภาพชีวิตจริงของบ่าวแต่ละคนเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านนบีอาดัมอะลัยฮิสสลามและท่านนบีมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจึงหมั่นขออภัยโทษ


5


ต่ออัลลอฮฺในทุกสภาวการณ์อย่างสมํ่าเสมอ” (อัต-ตุหฺฟะฮฺ อัล-อิรอกียะฮฺ เล่มที่ : 1 หน้า : 79)


อัลลอฮฺได้สั่งใช้ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและบรรดาผู้ศรัทธาให้หมั่นขออภัยโทษต่อพระองค์ และพระองค์ได้สัญญาว่าพร้อมที่จะให้อภัย อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


ความว่า “และเจ้าจงขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-นิสาอฺ : 106 )


อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ยังตรัสอีกว่า


ความว่า “ฉะนั้นพึงรู้เถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และจงขออภัยโทษต่อความผิดเพื่อตัวเจ้า และเพื่อบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งถึงพฤติกรรมของพวกเจ้าและที่พำนักของพวกเจ้า” (มุหัมมัด : 19 )


6


และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาได้ตรัสอีกว่า


 ความว่า “และพวกเจ้าจงขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-มุซซัมมิล : 20 )


การขออภัยโทษให้กับตนเองและผู้อื่น


การขออภัยโทษนั้นสามารถที่จะขออภัยให้กับตนเองหรือให้กับผู้อื่นก็ได้ อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


ความว่า “บรรดาผู้แบกบัลลังก์และผู้ที่อยู่รอบๆ บัลลังก์ ต่างก็แซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญต่อพระเจ้าของพวกเขา และศรัทธาต่อพระองค์ และได้ขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเรา พระองค์ทรงแผ่ความเมตตาและความรอบรู้ไปทั่วทุกสรรพสิ่ง ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยแก่บรรดาผู้ลุแก่โทษ และผู้ที่ดำเนินตามแนวทางของพระองค์ และทรงคุ้มครองพวกเขาให้รอดพ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด” (ฆอฟิร : 7)


7


และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาตรัสอีกว่า


ความว่า “และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขา โดยพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้ให้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเรา แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-หัชรฺ : 10)


และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ได้เล่าถึงการวิงวอนร้องขอของท่านนบีนูหฺอะลัยฮิสสลาม ว่า


ความว่า “โอ้พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าพระองค์ และแก่บิดามารดาของข้าพระองค์และแก่บรรดามุอฺมิน ในวันที่การสอบสวนจะมีขึ้น” (อิบรอฮีม : 41)


8


อิหม่ามอะหฺมัดได้บันทึกหะดีษ จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


ความว่า ”แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงยกสถานะของบ่าวผู้ศรัทธาในสวรรค์ เขาจึงถามว่า โอ้อัลลอฮฺฉันได้รับสิ่งตอบแทนอันมากมายเหล่านี้มาอย่างไร? อัลลอฮฺตรัสว่า เนื่องด้วยการที่ลูกของเจ้าขออภัยโทษให้แก่เจ้า” (บันทึกโดยอะหฺมัดเล่ม : 16 หน้า : 356-357)


ไม่อนุญาตให้ขออภัยโทษแก่ผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ


อัลลอฮฺไม่อนุญาตแก่ผู้ศรัทธาที่จะขออภัยโทษต่อพระองค์ให้แก่ผู้ตั้งภาคี ถึงแม้ว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้ที่ใกล้ชิด หรือเป็นบุคคลอันเป็นที่รักก็ตาม อัลลอฮฺได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า


ความว่า “ไม่บังควรแก่นบีและบรรดาผู้ศรัทธาที่จะขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ตั้งภาคี และแม้ว่าพวกเขาจะเป็นญาติใกล้ชิดกันก็ตาม ทั้งนี้หลังจากเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาแล้ว แน่นอนพวกเหล่านั้นเป็นชาวนรก และการขออภัยโทษของอิบรอฮีมให้แก่บิดาของเขามิได้ปรากฏขึ้น นอกจากเป็นสัญญาที่เขาได้ให้ไว้แก่บิดาของเขาเท่านั้น แต่เมื่อได้เป็นที่ประจักษ์แก่เขาแล้ว แท้จริงบิดาของเขาเป็นศัตรูของอัลลอฮฺ เขาก็ปลีกตัวออกจากบิดาของเขา แท้จริงอิบรอฮีมนั้นเป็นผู้นอบน้อม และเป็นผู้มีขันติอดทน” (อัต-เตาบะฮฺ : 113-114)


อิหม่ามมุสลิมได้บันทึกหะดีษจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า


ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ไปเยี่ยมหลุมฝังศพแม่ของท่าน แล้วท่านได้ร้องไห้ และเป็นเหตุทำให้ผู้คนที่อยู่รอบข้างท่านก็ร้องไห้ตาม จากนั้นท่านกล่าวว่า “ฉันวิงวอนขออนุญาตต่ออัลลอฮฺเพื่อที่จะขออภัยโทษแก่มารดาของฉัน แต่พระองค์ไม่อนุญาต ฉันจึงขออนุญาตเยี่ยมหลุมฝังศพของนาง พระองค์ก็อนุญาตให้แก่ฉัน ดังนั้น พวกท่านจงไปเยี่ยมหลุมฝังศพเถิด เนื่องจากจะทำให้พวกท่านนึกถึงความตาย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 976)


อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาได้ตรัสถึงผู้ตัง้ ภาคีว่า


ถึงแม้ว่าพวกเจ้าจะวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกเขาหรือไม่ก็


ตาม ก็จะไม่เกิดประโยชน์แก่พวกเขาแต่อย่างใด และอัลลอฮฺจะ


ไม่ตอบรบั การร้องขอจากผู้วงิ วอน


ความว่า “เจ้าจะขออภัยโทษให้แก่พวกเขาหรือไม่ก็ตาม หากเจ้าขออภัยให้แก่พวกเขาถึงเจ็ดสิบครั้ง อัลลอฮฺก็จะไม่ทรงอภัย


11


ให้แก่พวกเขาเป็นอันขาด นั่นก็เพราะว่าพวกเขาได้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ และอัลลอฮฺจะไม่ทรงให้ทางนำแก่กลุ่มชนที่ละเมิด” (อัต-เตาบะฮฺ : 80)


สำนวนการวิงวอนขออภัยโทษ


การวิงวอนขออภัยโทษต่ออัลลออฮฺมีหลากหลายสำนวน ซึ่งมีหะดีษหลายบทจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ได้บอกกล่าวเกี่ยวกับสำนวนต่างๆ เหล่านี้ อาทิเช่น


บทที่ 1 ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


อัลลอฮฺจะให้อภัยแก่เขา มาตรแม้นว่าเขาผู้นั้นได้หนีออกจากสมรภูมิรบก็ตาม” (บันทึกโดยอบูดาวุด หน้า : 180 หมายเลข : 1517)


บทที่ 2 ท่านเษาบาน กล่าวว่า


ความวา่ ”ฉันได้ยินทา่ นนบีศ็อลลลั ลอฮุอะลยั ฮิวะสัลลัม กล่าว


”อสิ ตฆิ ฟาร” หลงั จากเสร็จละหมาดสามครงั้ แล้วจึงกล่าว


อัล-วะลีด ( เป็นผู้รายงานหะดีษท่านหนึ่ง) เล่าว่าฉันได้ถามอัล-เอาซาอีย์ว่า ฉันจะกล่าวอิสติฆฟารอย่างไร? ท่านจงกล่าวว่า อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 976)


บทที่ 3 ซึ่งเป็นคำกล่าวขออภัยโทษที่ประเสริฐที่สุด ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


ความว่า” สุดยอดของถ้อยคำในการกล่าวขออภัยโทษ ”อิสติฆฟาร” คือถ้อยคำที่ว่า


ใครก็ตามที่กล่าวถ้อยคำนี้ในช่วงกลางวันด้วยใจที่บริสุทธิ์ หากเขาเสียชีวิตก่อนช่วงเย็นเขาจะได้เข้าสวรรค์ และใครก็แล้วแต่ที่กล่าวถ้อยคำนี้ในช่วงกลางคืนด้วยใจที่บริสุทธิ์ หากเขาเสียชีวิตก่อนรุ่งอรุณเขาจะได้เข้าสวรรค์” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 6306)


ช่วงเวลาที่จะกล่าวขออภัยโทษ


การขออภัยโทษสามารถทำในเวลาใดก็ได้ ไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามการขออภัยโทษจะเป็นวาญิบเมื่อบ่าวต้องการลบล้างจากกระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืน (ความชั่ว) และจะเป็นสุนัตที่สมควรกล่าวหลังจากการประกอบความ


14


ดีทุกครั้ง เพื่อที่จะช่วยเสริมในข้อบกพร่องซึ่งอาจจะเกิดขึ้น เช่น การกล่าวถ้อยคำ ”อิสติฆฟาร” สามครั้งหลังละหมาด หรือการกล่าวขออภัยโทษในช่วงประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นต้น อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


ความว่า “แล้วพวกเจ้าจงหลั่งไหลออกไปเหมือนกับบุคคลอื่นที่พวกเขาได้หลั่งไหลกันออกไป (จากทุ่งอะเราะฟะฮฺ-เนื่องจากชาวกุเรชจะออกไปวุกูฟที่ทุ่งมุซดะลิฟะฮฺแทนการวุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ- และจงขออภัยต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้น เป็นผูทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 199)


เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการกล่าวขออภัยโทษ


และเวลาที่ประเสริฐที่สุดในการที่จะขออภัยต่ออัลลอฮฺ คือ ช่วงเวลายามรุ่งอรุณ อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า


ความว่า “และในยามรุ่งอรุณพวกเขาขออภัยโทษ (ต่อพระองค์)” (อัซ-ซาริยาต : 18)


และอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาตรัสอีกว่า


ความว่า “บรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขากระทำความชั่วหรืออยุติธรรมแก่ตัวเองแล้ว พวกเขาก็รำลึกถึงอัลลอฮฺ แล้วขออภัยโทษต่อบรรดาความผิดของพวกเขา และไม่มีใครที่จะอภัยโทษต่อบรรดาความผิดทั้งหลายได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น และพวกเขามิได้ดื้อรั้นปฏิบัติในสิ่งที่พวกเขาเคยปฏิบัติมาโดยที่พวกเขารู้กันอยู่ ชนเหล่านี้แหละการตอบแทนแก่พวกเขาคือการอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเขา และบรรดาสวนสวรรค์ซึ่งมีแม่นํ้าหลายสายไหลอยู่ภายในสวนเหล่านั้น โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนเหล่านั้นตลอดกาล และรางวัลของผู้ทำงาน นั้นช่างเลอเลิศจริง” ( อาละอิมรอน : 135-136 )


16


อัล-ฟุฎ็อยลฺ บิน อิยาฎ กล่าวว่า “การขออภัยโทษโดยไม่ได้เลิกจากการกระทำความผิด เป็นการกลับตัวของคนตอแหล (จอมโกหก)” ในขณะที่ รอบิอะฮฺ อัล-อะดะวียะฮฺ ได้เปรียบเทียบว่า “การขออภัยโทษของพวกเราทุกวันนี้ ยิ่งต้องขออภัยโทษให้มากๆ อันเนื่องจากการขออภัยโทษที่ไม่จริงใจ”


การขออภัยโทษเป็นสาเหตุแห่งริสกีเพิ่มพูน


การขออภัยจะเป็นสาเหตุของการหลั่งนํ้าฝน เพิ่มพูนทรัพย์สิน และลูกหลานอย่างมากมาย อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


ความว่า “ข้าพระองค์ได้กล่าวว่า พวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง พระองค์จะทรงหลั่งนํ้าฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลาน


17


แก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีส่วนมากหลายแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีธารนํ้าหลายสายแก่พวกท่าน” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 141)


การขออภัยโทษเป็นสาเหตุที่จะปกป้องภัยพิบัติ


อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


ความวา่ “และอลั ลอฮฺจะไม่ทรงลงโทษพวกเขา ขณะที่เจ้าอยู่ใน


กลุ่มพวกเขา และอลั ลอฮฺจะไม่เป็ นผู้ทรงลงโทษพวกเขา ทัง้ ๆที่


พวกเขาขออภยั โทษกัน “ (อลั -อมั ฟาล : 33 )


อะลีย์ เราะฎิยัลลอฮูอันฮู กล่าวว่า “ภัยพิบัติจะไม่เกิดขึ้นนอกจากเมื่อมีความผิด และจะไม่ถูกนำออกไปนอกจากด้วยการกลับตัวยอมรับในความผิด (เตาบะฮฺ)”


อบูมูซา อัล-อัชอารีย์ กล่าวว่า “พวกเราดำรงชีวิตอยู่บนความปลอดภัยอันเนื่องจากมีสองอย่าง แต่ตอนนี้ได้ขาดหายไปแล้วหนึ่งอย่าง คือการตายจากไปของท่านเราะสูล และอีกอย่าง


18


ที่หลงเหลืออยู่กับพวกเรา คือการขออภัยโทษ หากไม่มีสิ่งนี้แล้วพวกเราคงต้องพบกับความพินาศอย่างแน่นอน” ( หนังสือ อัต-เตาบะฮฺ อิลัลลอฮฺ อัล-ฆอซาลียฺ หน้า : 124 )


การขออภัยโทษเป็นสาเหตุแห่งการประทานความเมตตา


อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


ความว่า “ เขา (ศอลิฮฺ) กล่าวว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน ทำไมพวกท่านจึงรีบเร่งหาความชั่วก่อนความดีเล่า ? ทำไมพวกท่านจึงไม่ขออภัยต่ออัลลอฮฺ เพื่อพวกท่านจะได้รับความเมตตา” (อัล-นัมลฺ : 46 )


การขออภัยโทษเป็นสาเหตุแห่งการชะล้างความผิด


การขออภัยโทษจะลบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการพูดคุยสนทนากัน ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้แนะนำให้มีการกล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺเมื่อเสร็จสิ้นจากวงสนทนาว่า


19


ความว่า ”ใครที่ได้พูดคุยกันในวงสนทนา ซึ่งอาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างสนทนากัน แต่เขาได้กล่าวก่อนที่จะเลิกจากการสนทนาว่า


แน่นอนว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่เขาในสิ่งที่เกิดความผิดพลาดระหว่างการสนทนานั้น” ( บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ เล่ม : 543 หมายเลข : 3433)



กระทู้ล่าสุด

ข้อความจากนักเทศน์มุส ...

ข้อความจากนักเทศน์มุสลิมถึงคริสเตียน

อานิสงส์ของการถือศีลอ ...

อานิสงส์ของการถือศีลอดหกวันชาวาล

สาส์นอันหนึ่งเดียวเท่ ...

สาส์นอันหนึ่งเดียวเท่านั้น

อิสลามกล่าวถึงอะไรเกี ...

อิสลามกล่าวถึงอะไรเกี่ยวกับการก่อการร้าย