บทความ




ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ


ซาดุลมะอาดฉบับย่อ (2)


(17) ขณะอยู่ระหว่างการเดินทาง


การเดินทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นมีเพียงสี่กรณีคือ การเดินทางเมื่อครั้งที่ท่านอพยพ (ไปยังมะดีนะฮฺ) การเดินทางเพื่อญิฮาด ซึ่งการเดินทางของท่านส่วนใหญ่ก็เป็นกรณีนี้ อีกสองกรณีคือการเดินทางเพื่อทาอุมเราะฮฺ และการเดินทางเพื่อทาหัจญ์


เมื่อท่านประสงค์จะออกเดินทาง ท่านจะจับสลากว่าภรรยาคนใดจะได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่าน ยกเว้นเมื่อครั้งที่ท่านเดินทางไปทาหัจญ์ ซึ่งท่านได้ให้ภรรยาของท่านทุกคนร่วมเดินทางไปด้วย


ท่านมักจะออกเดินทางตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ โดยท่านชอบออกเดินทางวันพฤหัสบดี ซึ่งท่านได้วิงวอนขอให้อัลลอฮฺทรงประทานบะเราะกัตความจาเริญแก่ประชาชาติของท่านที่ดาเนิน


4


กิจกรรมในช่วงเวลาเช้าตรู่ เมื่อท่านจะจัดทัพเพื่อออกไปทาสงคราม ท่านก็จะจัดให้ออกไปในช่วงเช้าตรู่เช่นกัน


ท่านกาชับให้ผู้เดินทางซึ่งมีจานวนสามคนขึ้นไปเลือกคนใดคนหนึ่งในกลุ่มเป็นหัวหน้าคณะ โดยท่านห้ามมิให้เดินทางคนเดียวตามลาพัง แต่ควรจะมีเพื่อนร่วมทางไปด้วย


มีรายงานระบุว่าเมื่อท่านเตรียมออกเดินทาง ท่านกล่าว


ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ พระองค์เท่านั้นคือผู้ที่ข้าพระองค์มุ่งหา และข้าพระองค์ขอยึดติดกับพระองค์เพียงผู้เดียว โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์ห่างไกลจากสิ่งที่ทาให้ข้าพระองค์กังวลใจ และสิ่งที่ข้าพระองค์ไม่ได้ให้ความสาคัญ โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์มีความยาเกรง ขอทรงอภัยในบาปความผิดของข้าพระองค์ และขอทรงชี้นาหนทางแห่งความดีงามแก่ข้าพระองค์ในทุกแห่งหนที่ข้าพระองค์มุ่งหน้าไปด้วยเถิด” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1342)


5


ขณะปีนขึ้นนั่งบนสัตว์พาหนะที่เตรียมไว้เพื่อเริ่มออกเดินทาง ท่านกล่าว “บิสมิลลาฮฺ” เมื่อขึ้นไปนั่งเรียบร้อยแล้วท่านจะกล่าวว่า





ความว่า “ขอสรรเสริญอัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างสิ่งนี้ให้เป็นประโยชน์แก่เรา มิเช่นนั้นแล้วพวกเราก็คงไม่สามารถที่จะบังคับมันได้ และท้ายที่สุดแล้วพวกเราต่างก็ต้องกลับไปยังพระองค์อย่างแน่นอน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1342)


หลังจากนั้นท่านกล่าว “อัลหัมดุลิลาฮฺ” สามครั้ง ตามด้วย “อัลลอฮุอักบัรฺ” อีกสามครั้ง แล้วจึงกล่าวว่า


ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้การเดินทางของเราในครั้งนี้เต็มไปด้วยความดีงามและความยาเกรง ขอพระองค์ทรงให้เราได้ปฏิบัติการงานที่พระองค์ทรงพอพระทัย โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้การเดินทางของเราในครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น ขอพระองค์ทรงให้ระยะทางอันยาวไกลนั้นไม่เป็นอุปสรรคแก่พวกเรา โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือผู้ทรงคุ้มครอง ผู้ทรงช่วยเหลือตลอดการเดินทาง และเป็นผู้ทรงดูแลครอบครัวของเรา โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงคุ้มครองข้าพระองค์จากความยากลาบากระหว่างการเดินทาง และจากความโศกเศร้าเสียใจเมื่อกลับจากการเดินทาง ตลอดจนสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ไม่ว่าจะ


7


เกี่ยวกับครอบครัวหรือทรัพย์สมบัติก็ตาม” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1342)


เมื่อกลับจากเดินทาง ท่านก็กล่าวดุอาอ์เหล่านี้เช่นกัน โดยกล่าวเพิ่มว่า





ความว่า “พวกเราเป็นผู้ที่กลับเข้าหาอัลลอฮฺ เป็นผู้ที่เตาบัตกลับตัว และเป็นผู้ที่เคารพภักดี และสรรเสริญพระผู้อภิบาลของเรา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1703 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1344)


เมื่อท่านและบรรดาเศาะหาบะฮฺเดินขึ้นเนินสูง พวกท่านจะกล่าวตักบีรฺ “อัลลอฮุอักบัรฺ” เมื่อเดินลงต่าระหว่างหุบเขา พวกท่านกล่าวตัสบีหฺ “สุบหานัลลอฮฺ”


และเมื่อท่านเดินทางถึงหมู่บ้านใดที่ท่านประสงค์จะแวะพัก ท่านจะกล่าวดุอาอ์ว่า





ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ผู้ทรงเป็นพระผู้อภิบาลแห่งชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและทุกสิ่งที่มันปกคลุม พระผู้พระอภิบาลแห่งชั้นดินทั้งเจ็ดและทุกสิ่งที่อยู่บนชั้นแผ่นดิน พระผู้อภิบาลแห่งบรรดาชัยฏอนมารร้ายและสิ่งที่พวกมันล่อลวงให้หลงผิด พระผู้อภิบาลแห่งสายลมและสิ่งที่มันพัดพาไป ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์มีความปลอดภัยขณะพานักอยู่ในหมู่บ้านนี้ ได้พานพบกับคนที่ดี และได้รับแต่สิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ ณ ที่นี้ และขอพระองค์ทรงคุ้มครองข้าพระองค์ให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของหมู่บ้านนี้ ตลอดจนความชั่วร้ายของผู้คนที่อยู่ในหมู่บ้านนี้ และสิ่งต่าง ๆ ที่นี่” (บันทึกโดยอันนะสาอีย์ หะดีษเลขที่ 543 และอิบนุหิบบาน หะดีษเลขที่ 2709)


ในระหว่างเดินทางท่านจะย่อละหมาดซึ่งเดิมมีสี่ร็อกอัตเหลือเพียงสองร็อกอัต อุมัยยะฮฺ บิน คอลิด เคยกล่าวว่า “เรา


9


พบว่าอัลกุรอานได้กล่าวถึงการละหมาดในกรณีปกติทั่วไป และการละหมาดในยามที่เผชิญกับความหวาดกลัว แต่เรากลับไม่พบว่าอัลกุรอานได้กล่าวถึงการละหมาดขณะอยู่ระหว่างการเดินทางเลย” ท่านอิบนุอุมัร จึงกล่าวแก่เขาว่า “พึงทราบเถิดว่าอัลลอฮฺได้ทรงส่งท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มาในขณะที่พวกเราไม่มีความรู้ใด ๆ เลย ทั้งนี้ สิ่งที่พวกเราปฏิบัติก็คือสิ่งที่เราเห็นมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่างทั้งสิ้น”


ตามแบบฉบับของท่านแล้ว ขณะเดินทางท่านจะละหมาดเฉพาะฟัรฎู ทั้งนี้ ไม่มีรายงานบันทึกว่าท่านละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดฟัรฎู ยกเว้นสุนัตก่อนศุบหฺ และละหมาดวิตรฺ แต่ถึงกระนั้นท่านก็มิได้ห้ามละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดฟัรฎู หากจะทาก็ถือว่าเป็นละหมาดสุนัตทั่ว ๆ ไปที่มิได้เจาะจง โดยไม่ถือว่าเป็นการละหมาดสุนัตที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเป็นประจา (เราะวาติบ) แต่อย่างใด


และมีรายงานหะดีษระบุว่า ในวันพิชิตมักกะฮฺท่านได้ละหมาดสุนัตจานวนแปดร็อกอัตในช่วงสาย


10


และตามแบบฉบับของท่านนั้น ท่านจะละหมาดสุนัตบนสัตว์พาหนะของท่าน ไม่ว่ามันจะเดินไปทิศทางใดก็ตาม โดยท่านรุกูอฺด้วยการก้มศีรษะลงต่า


ในกรณีที่ออกเดินทางก่อนที่จะได้เวลาซุฮรฺ ท่านจะยกละหมาดซุฮรฺไปละหมาดรวมในเวลาอัศรฺ แต่ถ้าได้เวลาซุฮรฺก่อนออกเดินทาง ท่านก็จะละหมาดซุฮรฺก่อนแล้วจึงออกเดินทาง และถ้าการเดินทางอยู่ในช่วงที่ต้องรีบเร่งทาเวลา ท่านก็จะยกละหมาดมัฆริบไปละหมาดรวมในเวลาอิชาอ์


(18) การอ่านอัลกุรอาน


ท่านอ่านอัลกุรอานจานวนหนึ่งอย่างสม่าเสมอทุกวัน โดยท่านจะอ่านช้า ๆ ออกเสียงอักขระต่าง ๆ อย่างชัดเจน และอ่านทีละอายะฮฺ จุดใดที่ต้องอ่านเสียงยาว (มัดด์) ท่านก็อ่านเสียงยาว เช่นกรณีของคาว่า الرَّ حْ 


เมื่อเริ่มอ่านอัลกุรอาน ท่านจะกล่าวขอความคุ้มครองให้พ้นจากชัยฏอน โดยกล่าวว่า





11


ความว่า “ฉันขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ ให้รอดพ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 5764 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2610)


บางครั้งท่านกล่าวว่า


ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ฉันขอความคุ้มครองจากพระองค์ ให้รอดพ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง ไม่ว่าจะเป็นการกระซิบกระซาบของมัน ความโอหังหยิ่งผยองของมัน (อันนาไปสู่การปฏิเสธศรัทธา) และคุณไสยมนต์ดาของมัน” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 242 และอบูดาวูด หะดีษเลขที่ 775)


ท่านชื่นชอบการฟังผู้อื่นอ่านอัลกุรอาน ท่านเคยขอให้อิบนุมัสอูดอ่าน แล้วท่านก็นั่งฟังด้วยความสงบนิ่ง กระทั่งหลั่งน้าตาออกมา


ท่านอ่านอัลกุรอานในหลายอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะยืน นั่ง หรือนอนเอนตัว ท่านอ่านทั้งขณะที่มีน้าละหมาด และมีหะดัษ ยกเว้นขณะมีญะนาบะฮฺ


12


ท่านอ่านด้วยน้าเสียงและท่วงทานองที่ไพเราะ บางครั้งท่านก็เอื้อนเสียงยาว (ตัรญีอฺ) ด้วย ซึ่งถ้าหากเอาหะดีษอีกบทหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงทาให้อัลกุรอานงดงามด้วยน้าเสียงของพวกท่าน” (บันทึกโดยอันนะสาอีย์ หะดีษเลขที่ 1015 และอบูดาวูด หะดีษเลขที่ 1468) มาพิจารณาประกอบก็จะทราบว่า ท่านเจตนาอ่านโดยเอื้อนเสียง มิใช่เกิดจากการสั่นไหวขณะที่อูฐขยับตัวเดินอย่างที่บางคนเข้าใจแต่อย่างใด


ซึ่งการอ่านด้วยน้าเสียงที่ไพเราะนั้นมีสองกรณี คือ


กรณีแรก เป็นการอ่านด้วยน้าเสียงที่ไพเราะอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่มีการฝืนหรือดัดเสียงจนเกินพอดี เช่นนี้ถือว่ากระทาได้ แม้ว่าจะเป็นพยายามอ่านให้เสียงไพเราะน่าฟังมากกว่าน้าเสียงปกติก็ตาม


ดังที่ท่านอบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า “ถ้าฉันรู้ว่าท่านกาลังฟังฉันอ่าน แน่นอนว่าฉันจะอ่านให้ไพเราะยิ่งขึ้น” สิ่งนี้เป็นแนวทาง


13


ของบรรดาชนยุคแรก ซึ่งตัวบทหลักฐานต่าง ๆ ที่กล่าวถึงการอ่านอัลกุรอานด้วยน้าเสียงที่ไพเราะก็เข้าใจได้ดังนี้ทั้งสิ้น


กรณีที่สอง คือกรณีที่เป็นการอ่านด้วยรูปแบบที่เป็นศาสตร์เฉพาะ ในลักษณะของการอ่านเลียนเสียงเพลงตามระดับเสียงของโน้ตดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้น เช่นนี้เป็นสิ่งที่ชาวสลัฟยุคแรกเห็นว่าไม่สมควร ซึ่งตัวบทหลักฐานที่ระบุว่าการอ่านด้วยเสียงที่ไพเราะเป็นที่น่ารังเกียจนั้นก็หมายถึงกรณีนี้นั่นเอง


(19) การเยี่ยมคนป่วย


เมื่อมีเศาะหาบะฮฺท่านใดล้มป่วย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็มักจะไปเยี่ยม แม้กระทั่งเมื่อคราวที่เด็กหนุ่มชาวยิวซึ่งเคยรับใช้ท่านไม่สบาย ท่านก็ไปเยี่ยม เมื่อลุงของเด็กหนุ่มคนดังกล่าวป่วยท่านก็ไปเยี่ยมเช่นกัน ทั้งที่เขาเป็น มุชริกผู้ตั้งภาคี พร้อมกันนั้นท่านก็ได้เชิญชวนโน้มน้าวทั้งสองให้เข้ารับอิสลามด้วย ซึ่งในที่สุดเด็กหนุ่มชาวยิวก็เข้ารับอิสลาม


14


ท่านจะเข้าใกล้คนป่วย แล้วนั่งลงในแนวเดียวกับศีรษะของเขา และถามไถ่อาการ ท่านจะใช้มือขวาลูบตัวคนป่วย พร้อมกล่าวว่า





ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งมวลมนุษย์ ขอพระองค์ทรงให้ทุกข์ภัยความเจ็บปวดต่าง ๆ จงมลายหายไป ขอพระองค์ทรงรักษาเขาให้หายป่วยด้วยเถิด พระองค์คือผู้ทรงทาให้หายป่วย ไม่มีการรักษาใดนอกจากการรักษาของพระองค์ เป็นการรักษาซึ่งไม่ทิ้งความเจ็บป่วยให้หลงเหลืออยู่อีกต่อไป” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 5418 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2191)


ท่านจะขอดุอาอ์ให้แก่คนป่วยจานวนสามครั้ง ดังที่ท่านเคยกล่าวว่า





ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงบาบัดรักษาสะอัดให้หายป่วยด้วยเถิด (สามครั้ง)” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 5335 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1628)


15


และเมื่อท่านเข้าหาคนป่วย ท่านจะกล่าวว่า





ความว่า “ไม่เป็นไร ความเจ็บป่วยนี้จะลบล้างบาปความผิดของท่าน อินชาอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3420)


บางครั้งท่านกล่าวว่า





ความว่า “ความเจ็บป่วยนั้นเป็นการลบล้างบาปความผิด และทาให้ท่านบริสุทธิ์” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 7030)


บางครั้งท่านเป่ารักษาผู้ที่มีบาดแผลหรือมีอาการเจ็บปวด โดยใช้นิ้วชี้ (จุ่มน้าลายเล็กน้อย) แล้วแตะลงบนพื้นดิน ก่อนจะยกนิ้วขึ้น (แตะตรงส่วนที่เจ็บปวด) พร้อมกล่าวว่า





ความว่า “ฉันขอรักษาด้วยพระนามของอัลลอฮฺ นี่คือดินของเรา ผสมกับน้าลายของบางคนจากพวกเรา เพื่อให้คนป่วยของเราหายจากอาการป่วย ด้วยพระประสงค์ของพระผู้อภิบาลของเรา”


16


(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 5413 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2194)


ทั้งนี้ ท่านไม่เคยเจาะจงวันหรือเวลาเฉพาะสาหรับการเยี่ยมคนป่วย แต่ท่านอนุญาตให้เยี่ยมได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน


บางครั้งท่านวางมือของท่านลงบนหน้าผากของคนป่วย แล้วลูบอกและท้องของเขาพร้อมกล่าวว่า





ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงโปรดให้เขาหายป่วยด้วยเถิด” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 5335 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1628)


บางครั้งท่านก็ลูบหน้าคนป่วยด้วย


เมื่อเห็นว่าผู้ป่วยใกล้จะสิ้นลมหายใจ ท่านจะกล่าวว่า





ความว่า “แท้จริงเรานั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และเราย่อมต้องกลับไปหาพระองค์” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 918)


17


(20) การจัดการศพ


แนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในการจัดการศพนั้น ถือเป็นแบบฉบับที่สมบูรณ์แบบที่สุด และต่างจากแนวทางของประชาชาติอื่น ๆ โดยท่านเน้นหนักในเรื่องของการปฏิบัติดีต่อผู้ตายและญาติพี่น้องของเขา และตอกย้าให้เห็นว่ามนุษย์นั้นมีสถานะเป็นเพียงบ่าวของอัลลอฮฺ ตะอาลา


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จัดการกับศพซึ่งกลับไปสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา อย่างดีที่สุด ท่านและบรรดาเศาะหาบะฮฺจะยืนเรียงเป็นแถว เพื่อสรรเสริญสดุดีอัลลอฮฺ และขออภัยโทษให้แก่ผู้ตาย หลังจากนั้นท่านก็จะเดินตามไปยังสุสานกระทั่งศพดังกล่าวถูกวางลงในหลุมฝังที่เตรียมไว้ จากนั้นท่านและบรรดาเศาะหาบะฮฺก็จะยืนขอดุอาอ์ให้ผู้ตายได้รับความปลอดภัยจากการลงโทษในหลุมศพ นอกจากนี้ท่านยังไปเยี่ยมสุสาน ให้สลาม และขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ตายอยู่เป็นประจา


แนวทางของท่านในการจัดการศพนั้น เริ่มตั้งแต่การเตือนสติผู้ที่กาลังเจ็บป่วย ให้ราลึกถึงชีวิตในโลกอาคิเราะฮฺ พร้อมทั้งกาชับใช้ให้จัดทาพินัยกรรมสั่งเสีย และเตาบัตกลับตัว


18


ท่านยังใช้ให้ผู้ที่อยู่กับผู้ป่วยใกล้ตายสอนให้เขากล่าวชะฮาดะฮฺปฏิญาณว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ” (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรคู่แก่การเคารพสักการะ นอกจากอัลลอฮฺ) เป็นคากล่าวสุดท้ายก่อนสิ้นลมหายใจ


ท่านห้ามมิให้เลียนแบบแนวทางของประชาชาติที่ไม่ศรัทธาต่อการฟื้นคืนชีพหลังตาย ไม่ว่าจะเป็นการตบตีใบหน้า ร้องไห้ฟูมฟายเสียงดัง และพฤติกรรมอื่น ๆ ของพวกเขาที่แสดงถึงความเสียใจกับการตายจนเลยเถิด


ทั้งนี้ ท่านส่งเสริมให้วางตัวด้วยอาการสงบเมื่อมีการตายเกิดขึ้น แต่ท่านก็อนุญาตให้มีความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจ หรือแม้แต่ร้องไห้โดยที่ปราศจากเสียงดังฟูมฟายได้ ซึ่งตัวท่านเองก็เคยทาเช่นนั้น โดยท่านเคยกล่าวว่า





ความว่า “น้าตารินไหลเจิ่งนอง หัวใจโศกเศร้าเจ็บปวด แต่เราก็จะไม่เอื้อนเอ่ยกล่าวคาพูดใด นอกจากสิ่งที่ทาให้พระผู้อภิบาล


19


ทรงพอใจเท่านั้น” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1241 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2315)


ท่านยังกาชับให้ประชาชาติของท่านกล่าวสรรเสริญสดุดีอัลลอฮฺ กล่าวอิสติรญาอฺ (อินนาลิลลาฮฺ วะอินนา อิลัยฮิ รอญิอูน) และพึงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกาหนด


ตามแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮะวะสัลลัม นั้น ท่านจะใช้ให้รีบเร่งจัดการศพให้เรียบร้อยโดยไม่รอช้า ด้วยการชาระล้างทาความสะอาดร่างกายให้ทั่ว และใช้เครื่องหอม แล้วจึงห่อศพด้วยผ้าสีขาว จากนั้นศพจึงถูกนามาวาง แล้วท่านก็ละหมาดญะนาซะฮฺให้


ทั้งนี้ ในวาระสุดท้ายก่อนที่คนคนหนึ่งจะเสียชีวิต ท่านมักจะได้รับเชิญให้อยู่ร่วมด้วย ซึ่งท่านก็จะอยู่กับเขาจนกระทั่งเขาสิ้นลมหายใจ จากนั้นท่านก็อยู่ร่วมขั้นตอนการจัดการศพ และนาละหมาดญะนาซะฮฺให้ แล้วจึงตามไปส่งถึงหลุมฝังศพ แต่ภายหลังเศาะหาบะฮฺเห็นว่าขั้นตอนเหล่านี้อาจสร้างความลาบากให้แก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มากเกินไป ดังนั้น เมื่อมีคนตายพวกท่านจึงจัดการศพให้เรียบร้อย ก่อนที่จะ


20


นาไปให้ท่านละหมาดญะนาซะฮฺภายนอกมัสยิด แต่ในบางครั้งท่านก็ละหมาดให้ภายในมัสยิด ดังที่ท่านละหมาดให้แก่ สะฮัล บิน บัยฎออ์ และน้องชายของเขา


สิ่งที่เป็นแบบฉบับของท่านเช่นกันคือ การคลุมหน้าและร่างกายผู้ตาย และปิดตาทั้งสองข้าง บางครั้งท่านก็จูบผู้ตายด้วย ดังที่ท่านจูบ อุษมาน บิน มัซอูน พลางหลั่งน้าตาร้องไห้


ท่านใช้ให้อาบชาระล้างร่างกายผู้ตายจานวนสามหรือห้าครั้ง ตามแต่ผู้ทาการอาบจะเห็นว่าเหมาะสม โดยท่านสั่งให้ใช้การบูรประกอบการล้างในครั้งสุดท้าย


ส่วนผู้ที่ตายชะฮีดในสมรภูมิรบนั้น ท่านจะไม่อาบน้าให้ โดยท่านจะถอดเครื่องหนังและชุดเกราะออก แล้วฝังพวกเขาพร้อมกับเสื้อผ้าที่พวกเขาสวมใส่ และท่านจะไม่ละหมาดญะนาซะฮฺให้แก่พวกเขา


ส่วนผู้ที่ตายขณะครองอิหฺรอม (ระหว่างทาหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ) นั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ใช้ให้อาบน้าศพโดยชาระล้างด้วยน้าและใบพุทรา แล้วจึงทาการห่อด้วยผ้า


21


อิหฺรอมทั้งสองผืนที่เขาสวมใส่ โดยในกรณีนี้ท่านห้ามมิให้พรมน้าหอม หรือปิดคลุมศีรษะผู้ตาย


ท่านกาชับผู้ที่ทาหน้าที่จัดการศพให้จัดแจงห่อศพด้วยความประณีตโดยใช้ผ้าสีขาว แต่ทั้งนี้ ท่านก็ห้ามมิให้ห่อศพด้วยผ้าที่มีราคาแพงหรือหรูหราจนเกินไป ในกรณีที่ผ้าห่อศพสั้นเกินกว่าที่จะปิดคลุมร่างกายทุกส่วนได้ ท่านก็จะคลุมปิดส่วนศีรษะ แล้ววางหญ้าปิดคลุมส่วนเท้า


(21) การละหมาดญะนาซะฮฺ


เมื่อศพหนึ่งศพใดถูกยกมา ท่านจะสอบถามก่อนว่าผู้ตายมีหนี้สินติดค้างอยู่หรือไม่? ถ้าไม่มี ท่านก็จะละหมาดให้ทันที แต่ถ้าปรากฏว่ามีหนี้สินอยู่ ท่านจะไม่ละหมาดให้ แต่จะใช้ให้เศาะหาบะฮฺละหมาดให้แทน ทั้งนี้ เนื่องจากการที่ท่านละหมาดญะนาซะฮฺให้นั้น ถือเป็นชะฟาอะฮฺ (ความช่วยเหลือ) ซึ่งแน่นอนว่าชะฟาอะฮฺของท่านนั้นย่อมได้รับการตอบรับ ในขณะที่หนี้สินนั้นจะยังคงติดตัวผู้ตาย โดยเขาจะไม่ได้เข้าสวรรค์จนกว่าหนี้ดังกล่าวจะได้รับการชดใช้สะสาง


22


แต่ภายหลังจากที่อัลลอฮฺได้ทรงให้รัฐอิสลามภายใต้การปกครองของท่านมีความเข็มแข็งมากขึ้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ละหมาดให้แก่ผู้ที่ยังคงมีหนี้สินติดค้างด้วย โดยท่านเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สินเหล่านั้นแทน แล้วเก็บทรัพย์สินเงินทองของผู้ตายไว้ให้ทายาทของเขา


เมื่อเริ่มละหมาดญะนาซะฮฺ ท่านนบีกล่าวตักบีรฺ แล้วกล่าวสดุดีสรรเสริญอัลลอฮฺ ครั้งหนึ่ง ท่าน อิบนุ อับบาส ละหมาดญะนาซะฮฺโดยที่ท่านอ่านฟาติหะฮฺเสียงดังหลังจาก ตักบีรฺครั้งแรก ซึ่งท่านอธิบายว่าที่ทาเช่นนั้น “ก็เพื่อให้ผู้คนทราบว่าการอ่านฟาติหะฮฺนั้นเป็นสุนนะฮฺ”


อาจารย์ของเรา (อิบนุตัยมิยะฮฺ) กล่าวว่า “การอ่าน ฟาติหะฮฺนั้นไม่วาญิบ แต่เป็นสุนนะฮฺ”


อบูอุมามะฮฺ บิน สะฮัล ได้รายงานจากเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งว่า ส่งเสริมให้กล่าวเศาะละวาตแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในละหมาดญะนาซะฮฺ


และมีรายงานว่า อบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้ถาม อุบาดะฮฺ บิน อัศศอมิต เกี่ยวกับการละหมาดญะนาซะฮฺ แล้วท่านตอบว่า ขอ


23


สาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันจะบอกให้ท่านทราบ ท่านจงเริ่มด้วยการตักบีรฺ จากนั้นให้กล่าวเศาะละวาตแก่ทานนบีแล้วกล่าวว่า





ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ บ่าวของพระองค์ (เอ่ยชื่อผู้ตาย) ไม่เคยกระทาชิริก (ตั้งภาคี) ต่อพระองค์ ซึ่งพระองค์ก็ทรงรู้ดีที่สุดเกี่ยวกับตัวเขา ถ้าหากเขาเป็นผู้ที่กระทาความดี ก็ขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนความดีงามให้แก่เขา แต่ถ้าหากเขาเป็นผู้ที่ไม่ดี ก็ขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่เขา โอ้อัลลอฮฺ ขอโปรดอย่าให้ผลบุญ (ที่เราละหมาดญะนาซะฮฺและขอดุอาอ์ให้แก่เขา) ต้องสูญเปล่า และขอพระองค์ทรงอย่าให้เราต้องหลงผิดหลังจากที่เขาได้ตายไปแล้ว” (บันทึกโดยมาลิก หะดีษเลขที่ 533)


ทั้งนี้ จุดประสงค์หลักของการละหมาดญะนาซะฮฺนั้น คือการขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ตาย ดังนั้น จึงพบว่ามีบันทึกรายงานหลายสายระบุถึงตัวบทดุอาอ์ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ


24


วะสัลลัม อ่าน ต่างจากกรณีของการอ่านฟาติหะฮฺ หรือการกล่าวเศาะละวาต ส่วนหนึ่งจากดุอาอ์ที่ท่านอ่านก็เช่น


ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงคนนั้น บุตรของคนนั้น (ระบุชื่อ) ได้กลับคืนสู่พระองค์แล้ว ขอพระองค์ทรงให้เขารอดพ้นจากการลงโทษในหลุมฝังศพและในนรกด้วยเถิด พระองค์คือผู้ทรงรักษาสัญญา และเปี่ยมด้วยสัจธรรม ขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่เขา และขอพระองค์ทรงเมตตาเขา แท้จริง พระองค์คือผู้ทรงให้อภัยและเมตตายิ่ง” (บันทึกโดยอบู ดาวูด หะดีษเลขที่ 3202)


และมีรายงานว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยกล่าวดุอาอ์บทต่อไปนี้ด้วยเช่นกัน





25


ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือพระผู้อภิบาลของชีวิตนี้ พระองค์ทรงสร้างเขาขึ้นมา ทรงประทานปัจจัยยังชีพ และทรงนาทางเขาสู่อิสลาม บัดนี้ พระองค์ทรงปลิดวิญญาณของเขาไปแล้ว ซึ่งพระองค์ย่อมรู้ดีเกี่ยวกับสิ่งที่เขากระทา ไม่ว่าจะลับหลังหรือในที่แจ้ง ที่เรามาในวันนี้ก็ในฐานะผู้ขอความช่วยเหลือให้กับเขา ขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่เขาด้วยเถิด” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 8545)


ทั้งนี้ ท่านกาชับให้ขอดุอาอ์แก่ผู้ตายด้วยความบริสุทธิ์ใจ


ท่านกล่าวตักบีรฺจานวนสี่ครั้ง แต่ก็มีบางรายงานระบุว่าท่านตักบีรฺห้าครั้ง ในส่วนของเศาะหาบะฮฺนั้น บางท่านตักบีรฺสี่ครั้ง บางท่านตักบีรฺห้าครั้ง และบางท่านตักบีรฺหกครั้ง


อัลเกาะมะฮฺ เล่าว่า ฉันเคยกล่าวแก่ อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด ว่า “สหายของมุอาซบางคนเดินทางมาจากเมืองชาม แล้วฉันพบว่าพวกเขากล่าวตักบีรฺในละหมาดญะนาซะฮฺห้าครั้ง” ท่านอับดุลลอฮฺจึงกล่าวว่า “การตักบีรฺในละหมาดญะนาซะฮฺนั้นไม่มีกาหนดจานวนครั้งที่แน่นอน แต่ท่านจงตักบีรฺพร้อม ๆ กับ


26


อิหม่าม เมื่ออิหม่ามให้สลามเสร็จสิ้นจากการละหมาด ก็จงให้สลามตาม”


มีคนถามอิมามอะหฺมัดว่า “ท่านเคยพบรายงานใดไหม ที่ระบุว่ามีเศาะหาบะฮฺท่านใดเคยให้สลามสองครั้ง ในละหมาดญะนาซะฮฺ?” ท่านตอบว่า “ไม่เคย แต่ที่พบคือมีรายงานจากเศาะหาบะฮฺหกท่าน ระบุว่าพวกท่านให้สลามสั้น ๆ ทางขวาเพียงครั้งเดียว”


ในบรรดาเศาะหาบะฮฺที่อิมามอะหฺมัดกล่าวถึงนั้น มี อิบนุ อุมัรฺ, อิบนุ อับบาส และอบู ฮุร็อยเราะฮฺ รวมอยู่ด้วย


ส่วนการยกมือขณะกล่าวตักบีรฺนั้น อิมามชาฟิอีย์มีทัศนะให้ยก โดยอ้างอิงรายงานที่ปรากฏในอะษัรฺ และการกิยาส (เทียบ) กับสุนนะฮฺในการละหมาดทั่วไป อะษัรฺที่ว่านี้ หมายถึงรายงานที่บันทึกจากอิบนุอุมัรฺ และอนัส ซึ่งระบุว่าทั้งสองท่านได้ยกมือขึ้นทุกครั้งขณะกล่าวตักบีรฺในละหมาดญะนาซะฮฺ


ในกรณีที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ทันละหมาดญะนาซะฮฺพร้อมคนอื่น ท่านจะไปละหมาดให้ที่หลุมศพ ครั้งหนึ่งท่านละหมาดที่หลุมศพหลังจากผู้ตายเสียชีวิตไป


27


แล้วหนึ่งคืน บางรายก็เสียชีวิตไปแล้วสามคืน และก็มีกรณีที่ท่านละหมาดที่หลุมศพหลังจากผ่านไปแล้วหนึ่งเดือน ทั้งนี้ ท่านไม่ได้กาหนดช่วงเวลาของการละหมาดที่หลุมศพแต่อย่างใด


ในประเด็นนี้อิมามมาลิกมีทัศนะว่าไม่อนุญาตให้ละหมาดที่หลุมศพเช่นนั้น ยกเว้นผู้ปกครองของผู้ตายซึ่งไม่ได้อยู่ร่วมในขณะที่มีการละหมาดญะนาซะฮฺ


กรณีที่ผู้ตายเป็นผู้ชาย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะยืนละหมาดบริเวณจุดที่ตรงกับศีรษะของผู้ตาย หากเป็นผู้หญิง ท่านจะยืนประมาณช่วงลาตัว


ทั้งนี้ ท่านละหมาดญะนาซะฮฺให้เด็กด้วยเช่นกัน แต่จะไม่ละหมาดให้ผู้ที่ฆ่าตัวตาย หรือผู้ที่ยักยอกทรัพย์สินส่วนกลางที่ได้จากศึกสงครามไปเป็นของตน


ส่วนผู้ที่ตายด้วยโทษประหารชีวิตในความผิดฐานกระทาซินานั้น มีรายงานที่แตกต่างกันว่าท่านละหมาดให้หรือไม่? โดยในกรณีของสตรีคนหนึ่งจากเผ่า “ญุฮัยนะฮฺ” ซึ่งท่านลงโทษนางด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนเสียชีวิตนั้น มีรายงานถูกต้องยืนยันว่าท่านละหมาดให้นาง แต่ในกรณีของ


28


ชายที่ชื่อ “มาอิซ” นั้นมีรายงานที่แตกต่างกันว่าท่านละหมาดญะนาซะฮฺให้เขาหรือไม่


ทั้งนี้ อาจอธิบายได้ว่าในความเป็นจริงแล้วรายงานเหล่านั้นไม่ได้ขัดแย้งกัน กล่าวคือ รายงานที่ระบุว่าท่านไม่ได้ละหมาดให้นั้น หมายถึงท่านไม่ได้ขอดุอาอ์ให้ เพราะคาว่า “อัศเศาะลาฮฺ” ( الصلاة ) นอกจากจะหมายถึงการละหมาดแล้ว ยังหมายถึงการขอดุอาอ์อีกด้วย


ซึ่งตามความเข้าใจนี้ สรุปได้ว่าท่านละหมาดญะนาซะฮฺให้มาอิซ แต่ท่านละเว้นการขอดุอาอ์ให้แก่เขาขณะยืนละหมาด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของบาปความผิดดังกล่าว และเตือนสติผู้อื่นไม่ให้เอาเป็นเยี่ยงอย่างนั่นเอง หรือถ้าจะมองว่ารายงานเหล่านั้นขัดแย้งกัน เราก็สามารถยึดหะดีษอีกบทหนึ่งที่ระบุชัดว่าท่านละหมาดให้แก่ผู้ที่ตายด้วยโทษประหารชีวิตเนื่องจากกระทาซินาเป็นหลักฐานแทนได้


เมื่อเสร็จสิ้นจากการละหมาดญะนาซะฮฺแล้ว ท่านจะเดินนาหน้าศพไปยังสุสาน โดยท่านแนะนาให้ผู้ที่ขี่พาหนะอยู่ในตาแหน่งข้างหลังศพ และให้ผู้ที่เดินเท้าอยู่ใกล้ ๆ กับศพ ไม่ว่า


29


จะเป็นข้างหลัง ข้างหน้า ข้างซ้าย หรือข้างชวา ทั้งนี้ ท่านใช้ให้รีบเร่งหามศพไปยังสุสานกระทั่งว่าผู้คนแทบจะกึ่งเดินกึ่งวิ่ง


เวลาท่านติดตามศพไปยังสุสานท่านมักจะเดินเท้าไป โดยท่านกล่าวว่า





ความว่า “ฉันไม่อยากขี่พาหนะ ในขณะที่บรรดามลาอิกะฮฺต่างเดินเท้ากัน” (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษเลขที่ 3177)


แต่ขากลับจากสุสานท่านก็อาจจะขี่พาหนะบ้างเป็นบางครั้ง


ท่านจะไม่นั่งจนกว่าศพจะถูกวางลง โดยท่านกล่าวว่า





ความว่า “หากพวกท่านติดตามญะนาซะฮฺ (ไปยังสุสาน) ก็อย่าได้นั่งจนกว่าศพจะถูกวางลงในหลุม” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 1043)


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ละหมาด ฆออิบ (กรณีที่ผู้ละหมาดอยู่คนละที่กับผู้ตาย) ให้ทุกคนที่


30


เสียชีวิต โดยมีรายงานที่ถูกต้องระบุว่าท่านเคยละหมาดฆออิบให้อันนะญาชีย์ (กษัตริย์อบิสิเนียที่เข้ารับอิสลามก่อนเสียชีวิต)


ซึ่งการละหมาดฆออิบนั้นเป็นสุนนะฮฺ แต่การงดเว้นไม่กระทาก็ถือเป็นสุนนะฮฺเช่นกัน โดยอาจสรุปได้ว่า ถ้าเป็นกรณีที่ผู้ตายเสียชีวิต ณ สถานที่ซึ่งไม่มีผู้ใดละหมาดญะนาซะฮฺให้ เช่นนี้ก็ควรละหมาดฆออิบให้ ดังกรณีของอันนะญาชีย์ซึ่งเสียชีวิตท่ามกลางบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา


และมีรายงานที่ถูกต้องระบุว่า ท่านสั่งใช้ให้ยืนขึ้นขณะที่ศพถูกยกผ่านต่อหน้า แต่ก็มีรายงานที่ถูกต้องอีกเช่นกันระบุว่าท่านนั่งอยู่กับที่ไม่ได้ยืนขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งก็มีการวิเคราะห์กันว่า คาสั่งใช้ให้ยืนขึ้นนั้นถูกยกเลิกไปแล้ว บ้างก็เข้าใจว่าการกระทาทั้งสองแบบล้วนเป็นที่อนุญาต โดยการที่ท่านยืนขึ้นนั้นก็เพื่อที่จะบอกว่าการยืนให้เกียรติศพเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทา ส่วนกรณีที่ท่านไม่ได้ยืนขึ้นนั้น ก็เพื่อที่จะบอกว่าการนั่งขณะที่ศพผ่านต่อหน้าเป็นสิ่งที่กระทาได้ ซึ่งการอธิบายเช่นนี้น่าจะเหมาะสมกว่า


 



กระทู้ล่าสุด

ข้อความจากนักเทศน์มุส ...

ข้อความจากนักเทศน์มุสลิมถึงคริสเตียน

อานิสงส์ของการถือศีลอ ...

อานิสงส์ของการถือศีลอดหกวันชาวาล

สาส์นอันหนึ่งเดียวเท่ ...

สาส์นอันหนึ่งเดียวเท่านั้น

อิสลามกล่าวถึงอะไรเกี ...

อิสลามกล่าวถึงอะไรเกี่ยวกับการก่อการร้าย