บทความ




    การรับประทานอาหารร่วมกัน


วัหชียฺ บินหัรบฺ ได้เล่าจากบิดาของเขา และบิดาของเขาได้เล่าจากปู่ของเขาว่า :


أَنَّ أَصْحَابَ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- قَالُوا يَا رَسُولَ اللهِ إِنَّا نَأْكُلُ وَلاَ نَشْبَعُ. قَالَ « فَلَعَلَّكُمْ تَفْتَرِقُونَ ». قَالُوا نَعَمْ. قَالَ « فَاجْتَمِعُوا عَلَى طَعَامِكُمْ وَاذْكُرُوا اسْمَ اللهِ عَلَيْهِ يُبَارَكْ لَكُمْ فِيهِ ».  


ความว่า :  เหล่าสหายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า : “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ พวกเราทานอาหาร แต่ไม่อิ่ม” ท่านตอบว่า “พวกท่านคงจะแยกย้ายกัน (ทาน)” พวกเขาตอบว่า “ใช่แล้ว” ท่านกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงร่วมกันรับประทานอาหารเป็นกลุ่ม และจงเอ่ยพระนามของอัลลอฮฺ แล้วพวกท่านจะได้รับบะเราะกะฮฺจากการทานแบบเป็นกลุ่มอย่างแน่นอน” (หะสัน บันทึกโดยอบูดาวูด ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3764 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3199 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3268 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2657)


    การให้เกียรติแขกและให้บริการด้วยตัวเอง


1.อัลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :


«هَلْ أَتَاكَ حَدِيثُ ضَيْفِ إِبْرَاهِيمَ الْمُكْرَمِينَ، إِذْ دَخَلُوا عَلَيْهِ فَقَالُوا سَلَاماً قَالَ سَلَامٌ قَوْمٌ مُّنكَرُونَ، فَرَاغَ إِلَى أَهْلِهِ فَجَاء بِعِجْلٍ سَمِينٍ، فَقَرَّبَهُ إِلَيْهِمْ قَالَ أَلَا تَأْكُلُونَ» (الذاريات: 24-27)


ความว่า : เรื่องราวของแขกผู้มีเกียรติของอิบรอฮีมได้มาถึงเจ้าบ้างไหม เมื่อพวกเขาได้เข้ามาหาเขา (อิบรอฮีม) พวกเขากล่าวว่า “ศานติ” เขากล่าวตอบว่า “ศานติ” (พวกท่านเป็น) หมู่ชนผู้แปลกหน้า แล้วเขาก็รีบเข้าไปหาครอบครัวของเขา แล้วได้นำลูกวัวอ้วน (ที่ย่างเสร็จแล้ว) ออกมา และได้วางมันไว้ข้างหน้าพวกเขา เขากล่าวว่า พวกท่านไม่รับประทานหรือ (อัล-ซาริยาต : 24-27)


2.มีรายงานจากอบีชุร็อยหฺ อัลกะอ์บีย์ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ، جَائِزَتُهُ يَوْمٌ وَلَيْلَةٌ، وَالضِّيَافَةُ ثَلاَثَةُ أَيَّامٍ، فَمَا بَعْدَ ذَلِكَ فَهْوَ صَدَقَةٌ، وَلاَ يَحِلُّ لَهُ أَنْ يَثْوِىَ عِنْدَهُ حَتَّى يُحْرِجَهُ» .    


ความว่า : “ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสุดท้าย ขอต้องให้เกียรติต่อแขกของเขา รางวัลหรือการต้อนรับอย่างพิเศษที่สุดสำหรับเขาคือหนึ่งวันหนึ่งคืน และให้ที่พักพิงแก่เขาเป็นเวลาสามวัน ส่วนที่เหลือหลังจากสามวันให้หลังถือเป็นการให้ทาน และไม่อนุมัติให้แขกพำนักอยู่กับเจ้าบ้านเป็นเวลานาน จนทำให้เขาต้องอึดอัดและลำบากใจ” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6135 และมุสลิม หมายเลข 48) (ไม่อนุมัติให้แขกพักค้างคืนที่บ้านคนอื่นเป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน จนทำให้เจ้าบ้านเกิดความอึดอัด ทำให้เกิดปัญหาและผู้เป็นแขกต้องมีบาป-ผู้แปล)


    วิธีนั่งรับประทานอาหาร


1. จากอบีญุหัยฟะฮฺ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«إِنِي لاَ آكُلُ مُتَّكِئًا»


ความว่า : “แท้จริง ฉันจะไม่รับประทานอาหารในสภาพเท้าแขน”  (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5298)


บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่ขัดแย้งเกี่ยวกับความหมายของการนั่ง “อิตติกาอ์” ขณะทานอาหาร ดังนี้ (ดู ซาดุลมะอาด 4/221-222, ฟัตหุลบารีย์ 9/670, นัยลุลเอาฏอร 8/183)


1-    การนั่งลงอย่างมั่นคงไม่ว่าจะอยู่ในท่าใดก็ตาม


2-    การนั่งแบบเอนตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง (ทัศนะของอิบนุลเญาซีย์)


3-    การนั่งแบบเท้าแขนข้างซ้ายลงบนพื้น


4-    การนั่งแบบพิงหลังไปพนักกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง


5-     การนั่งแบบท่าขัดสมาธิ แต่มัซฮับหันบะลีย์ไม่ถือว่าการนั่งท่านี้เป็นการนั่งแบบอิตติกาอ์ (อัลอินศอฟ 8/243, กัชชาฟ อัลเกาะนาอฺ 4/156) เช่นเดียวกับเชคอัลบานีย์ที่ไม่เห็นด้วย (ฟะตาวาญิดดะฮฺ เทปม้วนที่ 13)  - ผู้แปล


2.จากอนัส บินมาลิก เล่าว่า :


رَأَيْتُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- مُقْعِيًا يَأْكُلُ تَمْرًا.


ความว่า :  ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั่งคุกเข่าทานผลอินทผลัม (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2044)


3.จากอับดุลลอฮฺ บินบุสรฺ เล่าว่า :  


أَهْدَيْتُ لِلنَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- شَاةً فَجَثَى رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلَى رُكْبَتَيْهِ يَأْكُلُ فَقَالَ أَعْرَابِىٌّ مَا هَذِهِ الْجِلْسَةُ فَقَالَ «إِنَّ اللهَ جَعَلَنِى عَبْدًا كَرِيمًا وَلَمْ يَجْعَلْنِى جَبَّارًا عَنِيدًا»


ความว่า : ฉันได้มอบแพะหนึ่งตัวเป็นของขวัญให้กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านเราะสูลุลลอฮฺเลยนั่งคุกเข่ารับประทาน ชายอาหรับเบดูอินคนหนึ่งเลยถามขึ้นว่า นี่มันคือท่านั่งอะไรกัน ? ท่านจึงตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงสร้างฉันให้เป็นบ่าวที่สุภาพ และพระองค์ไม่ได้สร้างฉันให้เป็นคนเผด็จการที่หยิ่งยะโส” (เศาะฮีหฺ  บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 3773 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3207 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3263 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2640)


    ลักษณะการรับประทานของคนรีบร้อน


จากอนัส เล่าว่า :


أُتِىَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- بِتَمْرٍ فَجَعَلَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- يَقْسِمُهُ وَهُوَ مُحْتَفِزٌ يَأْكُلُ مِنْهُ أَكْلاً ذَرِيعًا. وَفِى رِوَايَةِ زُهَيْرٍ: أَكْلاً حَثِيثًا.  


ความว่า : ผลอินทผลัมได้ถูกนำมาให้แก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านนบีจึงแบ่งมันส่วนหนึ่งให้คนอื่น ซึ่งท่านอยู่ในท่าที่เตรียมพร้อม ท่านจึงรับประทานด้วยการทานที่รีบเร่ง (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2044)


    การปิดภาชนะเครื่องดื่มให้มิดชิดก่อนจะเข้านอนพร้อมกับเอ่ยพระนามอัลลอฮฺ


จากญะบิร เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«...وَأَغْلِقْ بَابَكَ، وَاذْكُرِ اسْمَ اللهِ، وَأَطْفِئْ مِصْبَاحَكَ، وَاذْكُرِ اسْمَ اللهِ، وَأَوْكِ سِقَاءَكَ، وَاذْكُرِ اسْمَ اللهِ، وَخَمِّرْ إِنَاءَكَ، وَاذْكُرِ اسْمَ اللهِ، وَلَوْ تَعْرُضُ عَلَيْهِ شَيْئًا»  


ความว่า :  “...ท่านจงปิดประตูบ้านท่านพร้อมเอ่ยพระนามอัลลอฮฺ จงดับตะเกียงของท่านพร้อมกับเอ่ยนามอัลลอฮฺ จงคว่ำภาชนะเครื่องดื่มของท่านพร้อมกับเอ่ยพระนามอัลลอฮฺ และจงครอบปิดภาชนะต่างๆของท่านพร้อมกับเอ่ยพระนามอัลลอฮฺ แม้ว่าท่านเพียงแต่จะเอาอะไรมาขวางกั้นบนมันก็ตาม” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3280 และมุสลิม หมายเลข 2012)


    การรับประทานพร้อมกับคนใช้


มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«إِذَا أَتَى أَحَدَكُمْ خَادِمُهُ بِطَعَامِهِ، فَإِنْ لَمْ يُجْلِسْهُ مَعَهُ فَلْيُنَاوِلْهُ أُكْلَةً أَوْ أُكْلَتَيْنِ، أَوْ لُقْمَةً أَوْ لُقْمَتَيْنِ، فَإِنَّهُ وَلِىَ حَرَّهُ وَعِلاَجَهُ»


ความว่า : “เมื่อมีคนใช้ยกอาหารมาให้พวกท่านคนใด ถ้าหากเขาไม่เชิญเขาให้นั่ง (รับประทาน) พร้อม (กับเขา) ก็ขอให้เขาจงหยิบให้เขาหนึ่งชิ้นหรือสองชิ้น หรือหนึ่งคำหรือสองคำ เพราะแท้จริงเขา(ต้องเหน็ดเหนื่อยจากการเป็น)ผู้รับผิดชอบดูแลความร้อน (ปรุงอาหาร) และจัดเตรียมมัน (ก่อนจะตั้งไฟ)” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5460 และมุสลิม หมายเลข 1663)


    เมื่อถึงเวลาอาหารค่ำ ก็จงอย่ารีบร้อน


มีรายงานจากอนัส บินมาลิก ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«إِذَا وُضِعَ الْعَشَاءُ وَأُقِيمَتِ الصَّلاَةُ فَابْدَءُوا بِالْعَشَاءِ»


ความว่า : “เมื่ออาหารค่ำได้ถูกยกมา พร้อมกับได้ยินเสียงอิกอมะฮฺละหมาด ดังนั้นพวกเจ้าก็จงเริ่มด้วยอาหารค่ำ (ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจึงค่อยไปละหมาดทีหลัง)” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 4563 และมุสลิม หมายเลข 557)


    มีวิธีรับประทานอาหารในถาดอย่างไร ?


มีรายงานจากอิบนุอับบาส ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ طَعَامًا فَلاَ يَأْكُلْ مِنْ أَعْلَى الصَّحْفَةِ وَلَكِنْ لِيَأْكُلْ مِنْ أَسْفَلِهَا فَإِنَّ الْبَرَكَةَ تَنْزِلُ مِنْ أَعْلاَهَا».  


ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดรับประทานอาหาร เขาจงอย่าเริ่มทานจากด้านบน (หรือตรงกลาง) ของถาด แต่จงเริ่มทานจากด้านล่างของมันก่อน เพราะแท้จริงแล้ว ความบะเราะกัตจะลงมาจากด้านบนของมัน” (เศาะฮีหฺ  บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3730 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3173 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3277 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2650)


    สิ่งที่ต้องกล่าวและปฏิบัติเมื่อทานอาหารหรือดื่มนม


1.มีรายงานจากอิบนุอับบาส ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ طَعَامًا فَلْيَقُلِ اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِيهِ وَأَطْعِمْنَا خَيْرًا مِنْهُ. وَإِذَا سُقِىَ لَبَنًا فَلْيَقُلِ اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِيهِ وَزِدْنَا مِنْهُ. فَإِنَّهُ لَيْسَ شَىْءٌ يُجْزِئُ مِنَ الطَّعَامِ وَالشَّرَابِ إِلاَّ اللَّبَنُ».  


ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดรับประทานอาหาร เขาก็จงกล่าวว่า “อัลลอฮุมมะ บาริกละนาฟีฮิ วะอัฏอิมนาค็อยร็อนมินฮุ” (แปลว่า โอ้อัลลอฮฺผู้เป็นเจ้าของฉัน ขอทรงโปรดประทานความบะเราะกัตให้แก่เราในสิ่งนี้ และขอให้เราได้รับประทานสิ่งที่ดีกว่านี้อีก) และเมื่อได้ถูกรินนมให้ ก็จงกล่าวว่า “อัลลอฮุมมะ บาริกละนาฟีฮิ วะซิดนามินฮุ (แปลว่า โอ้อัลลอฮฺผู้เป็นเจ้าของฉัน ขอทรงโปรดประทานความบะเราะกัตให้แก่เราในสิ่งนี้ และขอให้เพิ่มแก่เราอีก) เพราะแท้จริงแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่สามารถจะทดแทนอาหารและเครื่องดื่มได้นอกจากนม” (หะสันตามสายรายงานนี้ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3773 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3207 และบันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 3455 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2749)


2.อิบนุอับบาส เล่าว่า :


أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- شَرِبَ لَبَنًا ثُمَّ دَعَا بِمَاءٍ فَتَمَضْمَضَ وَقَالَ «إِنَّ لَهُ دَسَمًا».   


ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ดื่มนม หลังจากนั้น ท่านก็ได้ขอน้ำแล้วบ้วนปากและกล่าวว่า “แท้จริงแล้ว นมจะมีไขมันอยู่” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 211 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 358)


    คำกล่าวเมื่อเสร็จจากรับประทานอาหาร


1.มีรายงานจากมุอาซ บินอนัส ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«مَنْ أَكَلَ طَعَامًا ثُمَّ قَالَ: "الْحَمْدُ لِلهِ الَّذِى أَطْعَمَنِى هَذَا الطَّعَامَ وَرَزَقَنِيهِ مِنْ غَيْرِ حَوْلٍ مِنِّى وَلاَ قُوَّةٍ"، غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَا تَأَخَّرَ».  


ความว่า : “ผู้ใดที่รับประทานอาหารแล้วเขากล่าวว่า “ อัลฮัมดุลิลลาฮิลละซี อัฏอะมะนี ฮาซัฏเฏาะอาม วะเราะซะเกาะนีฟีฮิ มิน ฆ็อยริเหาลิน มินนี วะลากุ้ววะติน (แปลว่า ขอขอบคุณอัลลอฮฺ ผู้ทรงให้ฉันได้รับประทานอาหารนี้ และได้ประทานอย่างเสน่หาให้แก่ฉันโดยปราศจากพลังและความสามารถใดๆ ของฉัน)” เขาก็จะได้รับการอภัยโทษในความผิดที่ผ่านมาแล้วและความผิดที่ยังไม่เกิดขึ้น” (หะสัน  บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 4323 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3394 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3285 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2656)


2.จากอบีอุมามะฮฺ เล่าว่า :


أَنَّ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ إِذَا رَفَعَ مَائِدَتَهُ قَالَ «الْحَمْدُ لِلهِ كَثِيرًا طَيِّبًا مُبَارَكًا فِيهِ، غَيْرَ مَكْفِىٍّ، وَلاَ مُوَدَّعٍ وَلاَ مُسْتَغْنًى عَنْهُ، رَبَّنَا» .  


ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เมื่อท่านยกสำรับอาหารออก ท่านจะกล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮิกะซีร็อน ฏ็อยยิบัน มุบาเราะกัน ฟีฮิ ฆ็อยเราะมักฟิยยิน วะลา มุวัดดะอิน วะลา มุสตัฆนัน อันฮุ ร็อบบะนา” (แปลว่า ขอขอบคุณต่ออัลลอฮฺอย่างเหลือล้นอย่างดีอย่างจำเริญ โดยพระองค์ไม่ทรงปรารถนาต่อสิ่งใด ไม่เคยถูกเพิกเฉยจากผู้ใดและไม่เป็นผู้ที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ใด (ทุกคนต้องพึงประสงค์ในพระองค์ ) โอ้พระเจ้าของเรา”  (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5458)


3.จากอบีอัยยูบ อัลอันศอรียฺ เล่าว่า :


كَانَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- إِذَا أَكَلَ أَوْ شَرِبَ قَالَ «الْحَمْدُ لِلهِ الَّذِى أَطْعَمَ وَسَقَى وَسَوَّغَهُ وَجَعَلَ لَهُ مَخْرَجًا».  


ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเมื่อท่านรับประทานหรือดื่ม ท่านจะกล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮิลละซี อัฏอะมะ วะสะกอ วะเสาวะเฆาะฮุ วะญะอะละ ละฮู มัคเราะญัน” (แปลว่า ขอขอบคุณต่ออัลลอฮฺผู้ทรงให้อาหาร ให้น้ำดื่มและทำให้มันเป็นของดี และทำให้มันเป็นทางออก (สำหรับฉัน)” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 3851 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3261)


4.จากอนัส บินมาลิก เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«إِنَّ اللهَ لَيَرْضَى عَنِ الْعَبْدِ أَنْ يَأْكُلَ الأَكْلَةَ فَيَحْمَدَهُ عَلَيْهَا أَوْ يَشْرَبَ الشَّرْبَةَ فَيَحْمَدَهُ عَلَيْهَا».  


ความว่า : แท้จริงอัลลอฮฺนั้นย่อมพึงพอใจในตัวบ่าวด้วยการที่เขากินอาหารคำหนึ่งแล้วกล่าวขอบคุณต่อพระองค์ หรือดื่มน้ำอึกหนึ่งแล้วกล่าวขอบคุณต่อพระองค์ในสิ่งนั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2734)


5.ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«اللَّهُمَّ أَطْعَمْتَ وَأَسْقَيْتَ وَأَغْنَيْتَ وَأَقْنَيْتَ وَهَدَيْتَ وَاجْتَبَيْتَ، فَلَكَ الْحَمْدُ عَلَى مَا أَعْطَيْتَ».   


อ่านว่า : อัลลอฮุมมะ อัฏอัมตะ วะอัสก็อยตะ วะอัฆนัยตะ วะอักนัยตะ วะฮะดัยตะ วัจตะบัยตะ ฟะละกัลหัมดุ อะลา มา อะฏ็อยตะ (ความว่า “ โอ้ อัลลอฮฺ พระองค์ทรงให้อาหาร ให้เครื่องดื่ม ให้ร่ำรวย ให้เพียงพอ ทรงนำทาง และทรงคัดเลือก ดังนั้น มวลการสรรเสริญในสิ่งที่พระองค์ทรงประทานจึงเป็นของพระองค์เท่านั้น” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด หมายเลข 16712)


6.จากอนัส เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«مَا أَنْعَمَ اللهُ عَلَى عَبْدٍ نِعْمَةً فَقَالَ الْحَمْدُ لِلهِ. إِلاَّ كَانَ الَّذِى أَعْطَاهُ أَفْضَلَ مِمَّا أَخَذَ».  


ความว่า : “เมื่อพระองค์อัลลอฮฺทรงประทานสิ่งหนึ่งแก่บ่าวคนหนึ่ง แล้วเขากล่าวว่า “อัลหัมดุลิลลาฮฺ” แน่นอนว่าสิ่งที่พระองค์ทรงประทานนั้นจะเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาสิ่งที่เขาเคยรับ” (หะสัน บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3850 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3067)


    เวลาเข้า-ออกบ้านของแขก


อัลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :


«يَاأَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لاَ تَدْخُلُوا بُيُوتَ النَّبِيِّ إِلاَّ أَن يُؤْذَنَ لَكُمْ إِلَى طَعَامٍ غَيْرَ نَاظِرِينَ إِنَاهُ وَلَكِنْ إِذَا دُعِيتُمْ فَادْخُلُوا فَإِذَا طَعِمْتُمْ فَانتَشِرُوا وَلاَ مُسْتَأْنِسِينَ لِحَدِيثٍ» (الأحزاب: 53)


ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! สูเจ้าจงอย่าเข้าไปในบ้านใด ๆ ของท่านนบี เว้นแต่ว่าพวกท่านจะได้อนุญาตเพื่อรับประทานอาหารโดยต้องไม่ต้องรอเวลาอาหารสุก ดังนั้น เมื่อสูเจ้าได้รับเชิญก็จงเข้าไป ครั้นเมื่อสูเจ้ารับประทานเสร็จก็จงแยกย้ายกลับ และจงอย่าเป็นผู้ชอบวิสาสะในการสนทนา”(อัล-อัหซาบ : 53)


    ดุอาอ์ของแขกให้แก่เจ้าของอาหาร


1.ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«اللَّهُمَّ بَارِكْ لَهُمْ فِى مَا رَزَقْتَهُمْ وَاغْفِرْ لَهُمْ وَارْحَمْهُمْ».  


อ่านว่า : อัลลอฮุมมะ บาริก ละฮุม ฟี มา เราะซักตะฮุม วัฆฟิรละฮุม วัรหัมฮุม (ความว่า :   โอ้ อัลลอฮฺ! ขอทรงโปรดให้ความจำเริญแก่พวกเขาในสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้แก่เขา และขอทรงประทานอภัยโทษและปรานีต่อพวกเขา)  (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2042)


2.มีรายงานจากอนัส ว่า :


أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- جَاءَ إِلَى سَعْدِ بْنِ عُبَادَةَ فَجَاءَ بِخُبْزٍ وَزَيْتٍ فَأَكَلَ ثُمَّ قَالَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- «أَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُونَ وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَارُ وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ الْمَلاَئِكَةُ».  


ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้มาหาสะอัด บินอุบาดะฮฺ แล้วเขาก็ได้ยกขนมปังกับน้ำมันพืช ท่านจึงรับประทาน หลังจากนั้นท่านนบี ก็ได้กล่าวว่า “อัฟเฏาะเราะ อินดะกุมุสสออิมูน วะอะกะละ เฏาะอามะกุมุลอับรอรฺ วะศ็อลลัต อะลัยกุมุลมะลาอิกะฮฺ” ความว่า : เหล่าผู้ถือศีลอดได้ละศีลอดกับพวกท่านแล้ว เหล่าคนดี ได้รับประทานอาหารของพวกท่านแล้ว และเหล่ามะลาอิกะฮฺต่างได้ขอลหุโทษแก่พวกท่านแล้ว  (เศาะฮีหฺ  บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 384 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3263 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 1747 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 1418)


    ดุอาอ์ให้แก่ผู้ที่ให้น้ำดื่มหรือเมื่อเขาต้องการ


ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


«اللَّهُمَّ أَطْعِمْ مَنْ أَطْعَمَنِى وَأَسْقِ مَنْ أَسْقَانِى».


อ่านว่า : อัลลอฮุมมะ อัฏอิม มัน อัฏอะมะนียฺ วะอัสกิ มัน อัสกอนียฺ (ความว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ! ขอทรงโปรดให้อาหารแก่ผู้ที่ให้อาหารแก่ฉัน และให้น้ำดื่มแก่ผู้ที่ให้น้ำดื่มแก่ฉัน) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2055)





 



กระทู้ล่าสุด

มารยาทในการเดินทาง (1 ...

มารยาทในการเดินทาง (1) การเตรียมตัวก่อนเดินทาง

ลักษณะวิธีการละหมาด ...

ลักษณะวิธีการละหมาด

ความประเสริฐของซอฮาบะ ...

ความประเสริฐของซอฮาบะฮฺและสิทธิ์ของพวกเขา

เรื่องราวการรับอิสลาม ...

เรื่องราวการรับอิสลามของ Iman Aparicio ชาวแม็กซิกัน