วันอีดในบัญญัติอิสลาม
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 34
วันอีดในบัญญัติอิสลาม
ความว่า จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะ
ลัยฮิ วะสัลลัม ได้เดินทางมาสู่มะดีนะฮฺ ชาวมะดีนะฮฺสมัยนั้นมีสองวันที่พวก
เขาละเล่นรื่นเริงกัน ท่านจึงได้ถามว่า “สองวันนี้เป็นวันอะไร?” พวกเขาตอบว่า
“พวกเราเคยรื่นเริงกันมาในสองวันนี้ตั้งแต่สมัยเก่าก่อน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอ
ฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนมันด้วยวันที่ดีกว่า
ทั้งสองวันนั้น นั่นคือวันอีดอัล-ฟิฏรฺ และอีดอัล-อัฎฮา” (รายงานโดย อบู ดาวูด
หมายเลข 959 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 1004 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)
บทเรียนจากหะดีษ
1. ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อพยพจากมักกะฮฺไปยังมะดีนะฮฺเพื่อเผยแผ่
ศาสนาของอัลลอฮฺ
2. คนในสมัยญาฮิลียะฮฺก็มีวันสำคัญสำหรับพวกเขา
3. ทุกชาติและทุกศาสนาในโลกนี้ต่างก็มีวันสำคัญของพวกเขา
4. วันอีดในอิสลามมีเพียง 2 วัน คือ วันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮา
5. วันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮามีเกียรติยิ่งกว่าวันอีดใดๆ ของมวลมนุษยชาติในโลกนี้
6. อัลลอฮฺประสงค์ดีต่อประชาชาติมุสลิมเสมอ
7. การส่งเสริมวันอีดอันนอกเหนือจากวันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮาถือว่าเป็นการผิดต่อ
ซุนนะฮฺและหลักคำสอนของอัลลอฮฺและรอซูล
เสื้อผ้าสำหรับวันอีด
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 35
เสื้อผ้าสำหรับวันอีด
ความว่า จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่าน
อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้นำเสื้อคลุมที่ทำด้วยผ้าไหมผืนหนึ่งมาจากตลาด
และได้นำไปยังท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และกล่าวว่า “โอ้
ท่านรอซูล ท่านน่าจะซื้อผ้านี้เอาไว้สวมและแต่งกายสำหรับวันอีดและเมื่อ
ต้อนรับคณะผู้มาเยือน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตอบว่า
“แท้จริงแล้ว นี่เป็นเสื้อผ้าของพวกที่ขาดทุน(ในวันอาคิเราะฮฺ)” (รายงานโดย
อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 896 และมุสลิม หมายเลข 3853)
อธิบายหะดีษ
ความหมายคือ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ยอมรับว่าควรต้องแต่งกายให้
สวยงามในวันอีด แต่ที่ท่านปฏิเสธคือการสวมผ้าไหมซึ่งเป็นที่ต้องห้ามในบัญญัติอิสลาม
บทเรียนจากหะดีษ
1. ส่งเสริมให้ใส่เสื้อที่สวยงามในวันอีด
2. เครื่องแต่งตัวในวันอีดนั้นจะต้องไม่ขัดกับหลักการอิสลาม
3. ห้ามผู้ชายสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นไหม
4. ผู้ที่ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นไหมถูกตราว่าเป็นผู้ที่โชคร้ายในวันอาคิเราะฮฺ
5. ส่งเสริมให้มีการพบปะกับคนที่มีเกียรติและเป็นที่นับถือ
ให้ทานอาหารเล็กน้อยก่อนออกไปละหมาดอีด
อาหมัด อัลฟารีตีย์
แปลโดย : ฮาเรส เจ๊ะโด
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ 40 หะดีษเราะมะฎอน
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 36
ให้ทานอาหารเล็กน้อยก่อนออกไปละหมาดอีด
ความว่า จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม จะไม่ออกไปละหมาดในวันอีดุลฟิฏรฺ นอกจากท่านจะ
รับประทานลูกอินผลัมบ้างเล็กน้อย และท่านจะรับประทานเป็นจำนวนคี่
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 900)
คำอธิบายหะดีษ
อัล-มุฮัลลับ กล่าวว่า วิทยปัญญาของการส่งเสริมให้รับประทานก่อนละหมาดอีดุลฟิฏรฺ ก็
เพื่อมิให้คนอื่นเข้าใจว่าวันดังกล่าวเป็นวันถือศีลอด บางท่านกล่าวว่า วันดังกล่าวเป็นวันที่ต้องละ
ศีลอดหลังจากวาญิบให้ถือศีลอด ดังนั้น จึงสุนัตให้รับประทานอาหารเล็กน้อย หากมิใช่เป็นการ
เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารก็ได้
บทเรียนจากหะดีษ
1. หะดีษกล่าวถึงเรื่องของการกระทำที่สุนัต หรือการกระทำของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะ
ลัยฮิวะสัลลัม ก่อนออกจากบ้านไปสู่ยังสถานที่ละหมาดอีด
2. ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะรับประทานลูกอินทผลัมสักเล็กน้อยก่อนไป
ละหมาดอีด
3. ข้อดีและประโยชน์ของลูกอินทผลัม ซึ่งท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะ
รับประทานอยู่เสมอ
4. วิธีรับประทานอินทผลัม คือ รับประทานเป็นจำนวนเลขคี่
5. ความประเสริฐของจำนวนคี่ในอิสลาม อิบาดะฮฺหลายอย่างปฏิบัติเป็นจำนวนคี่
ให้นำสตรีออกไปร่วมละหมาดอีด
อาหมัด อัลฟารีตีย์
แปลโดย : ฮาเรส เจ๊ะโด
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ 40 หะดีษเราะมะฎอน
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 37
ให้นำสตรีออกไปร่วมละหมาดอีด
ความว่า จากท่านหญิง อุมมุ อะฏิยฺยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮา เล่าว่า ท่านรอ
ซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สั่งให้เรานำบรรดาสตรีออกไปในวัน อีดุล
ฟิฏรฺและอีดุลอัฎฮา ไม่ว่าจะเป็นสาวๆ ผู้ที่มีรอบเดือน หรือที่มีใบหน้างดงามก็
ตาม บรรดาผู้ที่มีรอบเดือนนั้น ให้พวกหล่อนแยกไปอยู่ต่างหากไม่ต้อง
ละหมาด ให้คอยเป็นสักขีพยานต่อความดีงามและคำกล่าวพรของบรรดา
มุสลิม ฉันได้ถามท่านว่า “พวกเราบางคนไม่มีเสื้อคลุมใส่” ท่าน รอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า “พวกเธอที่เป็นพี่น้องก็จงให้ยืมเสื้อคลุม
แก่หล่อนผู้นั้น” (รายงานโดย มุสลิม หมายเลข 1475)
บทเรียนจากหะดีษ
1. กล่าวถึงเกียรติและความยิ่งใหญ่ของวันอีดในอิสลาม
2. ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้สตรีทุกคนออกมาเพื่อร่วมในวัน
อีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ซึ่งจะรวมถึงบรรดาหญิงสาวที่มีประจำเดือนด้วย
3. วัตถุประสงค์ที่ให้บรรดาหญิงสาวออกมาก็เพื่อให้เขาสามารถร่วมในกิจกรรมการทำ
ความดีและร่วมในการขอดุอาอ์
4. สตรีที่ออกจากบ้านจะต้องสวมใส่หิญาบ หมายถึง ห้ามออกจากบ้านโดยไม่ปกปิดเอา
เราะฮฺ
5. ส่งเสริมให้มีการให้หยิบยืมหิญาบแก่เพื่อนๆ ที่ยังไม่มี
6. ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้ความดีงามเกิดขึ้นเพื่อจะได้ปฏิบัติตาม
คำสั่งของอัลลอฮฺและรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ส่งเสริมให้เศาะดะเกาะฮฺในเช้าวันอีด
อาหมัด อัลฟารีตีย์
แปลโดย : ฮาเรส เจ๊ะโด
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ 40 หะดีษเราะมะฎอน
ความว่า จากท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า “ฉันได้
ออกไปละหมาดอีดพร้อมท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้
ละหมาดก่อนการให้คุฏบะฮฺ(เทศนา) โดยไม่มีการอะซานหรืออิกอมะฮฺ จากนั้น
ท่านได้ลุกขึ้นและยืนค้ำกับท่านบิลาล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ และได้(ให้เทศนา
โดย)สั่งให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และเน้นย้ำให้เชื่อฟังพระองค์ ท่านได้กล่าวสั่ง
สอนและตักเตือนผู้ร่วมละหมาด แล้วท่านก็เดินจนกระทั่งได้ยืนอยู่หน้าเหล่า
สตรี(ที่มาร่วมละหมาด) ท่านได้กล่าวสั่งสอนและตักเตือนพวกนาง ท่านได้
กล่าวว่า “พวกนางทั้งหลาย จงให้ทานเศาะดะเกาะฮฺเถิด เพราะส่วนมากของ
พวกเธอนั้นคือเชื้อไฟของนรกญะฮันนัม” เมื่อนั้นได้มีผู้หญิงคนหนึ่งที่ดูเลิศ
ที่สุดจากพวกนางลุกขึ้นถามด้วยอาการตระหนกที่เห็นได้ชัดจากแก้มของนาง
ว่า “เหตุใดที่เป็นเช่นนั้น โอ้ ท่านผู้เป็นศาสนทูตแห่ง อัลลอฮฺ?” ท่านได้ตอบว่า
“เหตุเพราะที่พวกนางชอบฟ้องร้องและไม่สำนึกคุณของสามี” ดังนั้น บรรดา
พวกนางจึงได้ถอดต่างหูและแหวนของพวกนางเพื่อทำเศาะดะเกาะฮฺ โดยได้
โยนใส่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นในเสื้อของท่าน บิลาล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ (รายงาน
โดย มุสลิม หมายเลข 1467)
2
บทเรียนจากหะดีษ
1. วิธีละหมาดวันอีดในอิสลาม เริ่มต้นด้วยการละหมาด (จำนวน 2 ร็อกอะฮฺ) จากนั้นจึง
อ่านคุฏบะฮฺ
2. ละหมาดวันอีดมีวิธีที่เฉพาะ ได้แก่ จะไม่มีการอะซานและอิกอมะฮฺ การคุฏบะฮฺจะอ่าน
หลังจากละหมาดเสร็จ
3. อิหม่ามหรือผู้ที่อ่านคุฏบะฮฺสามารถจะพิงผู้อื่นได้
4. สิ่งที่จำเป็นต่อการปลูกฝังในวันอีดคือ การตักวาและการภักดี (เชื่อฟัง) ต่ออัลลอฮฺ
ขณะเดียวกันให้ความรู้และบทเรียนในขณะคุฏบะฮฺ
5. ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสตรี
6. ส่งเสริมให้สตรีทำการบริจาคทานมากๆ โดยเฉพาะในวันอีด เพราะสตรีจำนวนมากจะ
เป็นเชื้อเพลิงของไฟนรก
7. ชอบฟ้องและไม่รู้บุญคุณของสามี เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้พวกนางต้องเข้านรก
(ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงห่างไกลจากสิ่งเหล่านี้)
8. ความประเสริฐของการบริจาคทาน ซึ่งเป็นอะมัลเฉพาะที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะ
ลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งไว้ เพื่อให้สตรีปฏิบัติในวันอีด
9. การบริจาคเศาะดะเกาะฮฺเป็นสาเหตุหนึ่งที่ปลดปล่อยบ่าวให้รอดพ้นจากการลงโทษใน
นรก
10. ความพิเศษของบรรดาเศาะหาบะฮฺสตรีคือ การน้อมรับคำสั่งของอัลลอฮฺด้วยความเต็มใจ
และยินดี
11. บรรดาเศาะฮาบะฮฺสตรีได้ทำตัวอย่างในการบริจาคทานด้วยการมอบเครื่องแต่งกาย
และเครื่องประดับ
ละหมาดอีดที่มุศ็อลลาเป็นสุนนะฮฺ
อาหมัด อัลฟารีตีย์
แปลโดย : ฮาเรส เจ๊ะโด
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ 40 หะดีษเราะมะฎอน
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 39
ละหมาดอีดที่มุศ็อลลาเป็นสุนนะฮฺ
ความว่า จากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกไปละหมาดอีดิลฟิฏรฺและอีดิล อัฎฮาที่
มุศ็อลลา(สนามละหมาด) สิ่งแรกที่ท่านทำคือการละหมาด หลังจากนั้นท่านก็
จะผละจากที่นั่ง และลุกขึ้นหันไปยังผู้คนที่กำลังนั่งอยู่ในแถวของพวกเขา แล้ว
ท่านก็จะกล่าวคำตักเตือนพวกเขา สั่งเสียพวกเขา กำชับพวกเขา ถ้าหากท่าน
ต้องการส่งกองทัพไปยังที่ใดที่หนึ่งท่านก็จะสั่งตรงนั้นหรือถ้าหากต้องการสั่งสิ่ง
หนึ่งสิ่งใดท่านก็จะทำตรงนั้น หลังจากนั้นท่านก็จะกลับ(หมายถึงเสร็จพิธี)
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 903)
คำอธิบายหะดีษ
ในการให้คำอธิบายหะดีษดังกล่าว ท่านอิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวว่า จาก
หลักฐานหะดีษนี้ ถือว่าสุนัตให้ออกไปสู่สนามเพื่อทำการละหมาดอีด แท้จริงแล้วสิ่งนั้นมีความ
ประเสริฐกว่าการทำละหมาดอีดในมัสยิด เนื่องจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้
คงไว้ซึ่งการกระทำดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ส่วนความหมายของ “ มุศ็อลลา หรือ สนาม
ละหมาดในหะดีษนี้เป็นสนามแห่งหนึ่งหรือเป็นพื้นที่กว้างที่ห่างออกไปจากมัสยิดอันนะบะวีย์
ประมาณ 1,000 ศอก (ฟัตหุลบารีย์ 2/449-450)
อัล-อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า เราได้รับ(รายงานมาว่า) แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะ
ลัยฮิวะสัลลัม ออกไปในทั้งสองวันอีดไปยังมุศ็อลลาในบริเวณนครมะดีนะฮฺ เฉกเช่นเดียวกับ (การ
กระทำ)ของบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮฺหลังจากสมัยของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ยกเว้นเมื่อมีเหตุขัดข้องบางประการ เช่น ฝนตก เป็นต้น ทั้งนี้รวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วย ยกเว้นชาว
2
มักกะฮฺเท่านั้น ไม่มีคำยืนยันว่าชาวสะลัฟสมัยก่อนมีทำการละหมาดอีดพร้อมๆ กันกับคนจำนวน
มาก(ในมัสยิดใดๆ)ยกเว้นในมัสยิดอัลหะรอม และหากว่ามัสยิด(ในประเทศหรือหมู่บ้านมีความคับ
แคบ) ไม่สามารถที่จะบรรจุผู้คน(เมื่อทำการละหมาดอีด) แต่อิหม่าม(ในสถานที่นั่น)ยังให้มีการทำ
ละหมาดในสถานที่ดังกล่าว ดังนั้น ข้าพเจ้า(มีความเห็นว่า)การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่มักรูฮฺ
สำหรับพวกเขา แม้ว่าพวกเขาจะไม่ต้องละหมาดซ้ำก็ตาม (อัล-อุมม์ ของ อัช-ชาฟิอีย์ 1/234)
บทเรียนจากหะดีษ
1. ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้แสดงแบบอย่างในการต้อนรับวันอีด
2. การละหมาดวันอีด ณ มุศ็อลลา (ในสนามหรือที่ลานกว้าง) เป็นสุนนะฮฺของท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ก็ได้ดำเนินรอยตามท่าน
3. การร่วมกันออกไปยังท้องสนามหรือที่ลานกว้างนั้น นับเป็นสัญญลักษณ์ของอิสลาม และ
เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และพลังของประชาชาติอิสลาม
4. สิ่งแรกที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำหลังจากรวมตัว ณ มุศ็อลลา คือ การ
ละหมาดวันอีด อันเป็นการทำความภักดีต่ออัลลอฮฺและการขอขอบคุณต่อความโปรดปรานของ
พระองค์
5. ศาสนาอิสลามได้บัญญัติให้มีการอ่านคุฏบะฮฺหลังจากละหมาดอีด เพื่อเป็นการตักเตือน
แก่ผู้ร่วมละหมาด
6. ผู้เข้าร่วมละหมาดอีดควรนั่งเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมที่จะรับฟังคำสอน
และคำตักเตือนจากอิหม่าม