บทความ

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฎู





ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ


หะดีษบทที่ 32


การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฎู





ความว่า จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ


อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กำหนดให้บรรดามุสลิมต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺด้วย


อินทผลัมแห้งหรือข้าวสาลีจำนวนหนึ่งศออฺ ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นเสรีชนหรือ


เป็นทาส ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เด็กและคนแก่ ในหมู่คนที่เป็นมุสลิม(ทุกคนต้อง


จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺทั้งสิ้น) ท่านได้สั่งให้จ่ายมันก่อนออกไปละหมาดในเช้า


วันอีด (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1407)


คำอธิบายหะดีษ


อิมามอัน-นะวะวีย์กล่าวว่า อุละมาอ์มีทัศนะที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า


ف رَ ضَ “ ” (การกำหนดให้เป็นฟัรฎู) อุละมาอ์ส่วนใหญ่จากชนรุ่นแรกและรุ่นหลังได้ให้ความหมายว่า


“ลาซิมและวาญิบ” (จำเป็นและบังคับต้องทำ) เหตุที่ซะกาตฟิฏเราะฮฺสำหรับพวกเขามีหุก่มวาญิบ


นั่นก็เนื่องจากถูกรวมอยู่ในภาพรวมคำสั่งของอัลลอฮฺ และเนื่องจากการใช้คำ “ فرض ” แต่ก็มีอุ


ละมาอ์บางท่านเห็นว่าซะกาตฟิฏเราะฮฺนั้นสุนัตไม่ใช่วาญิบ


ท่านอิบนุ กุตัยบะฮฺกล่าวว่า ที่หมายถึงซะกาตฟิฏเราะฮฺนั้นคือ ซะกาตสำหรับตนเอง ซึ่งมา


จากคำว่า “ฟิฏเราะฮฺ” (อัล-ฟัตหุ อัร-ร็อบบานีย์ มะอะ ชัรฮิฮี 9/138)


หะดีษข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ซะกาตฟิฏเราะฮฺไม่เป็นเงื่อนไขของถึงการนิศอบ(การกำหนด


พิกัด) ทั้งนี้ มันวาญิบสำหรับผู้ยากจนและผู้ร่ำรวยที่จะต้องจ่ายทุกคน


อัล-อิมาม อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า หากมีเหลือจากค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและครอบครัวใน


เช้าตรู่ของวันอีดและกลางคืนของวันอีด จึงเป็นวาญิบสำหรับเขาในการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ (ชัรหุ


อัส-สุนนะฮฺ ของ อัล-บะเฆาะวีย์ 6/71)


2


ที่ถูกต้องตามสุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็คือ จะต้องจ่ายซะกาต


ฟิฏเราะฮฺในวันอีดก่อนออกไปสู่ที่ละหมาด แต่ถ้าหากว่าจะให้ซะกาตฟิฏเราะฮฺทันทีหลังจากเข้า


เราะมะฎอนก่อนถึงวันอีดก็ถือว่าทำได้ เพราะท่านอุมัรเคยฝากซะกาตฟิฏเราะฮฺให้แก่ผู้จัดเก็บฟิฏ


เราะฮฺก่อนวันอีดสองหรือสามวัน (อัล-มุวัฏเฏาะอ์ 1/285 สายสืบของรายงานนั้นเศาะฮีหฺ ดู ชัรหุส


สุนนะฮฺ 6/76)


บทเรียนจากหะดีษ


1. กำหนดให้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ เพื่อให้ผู้ที่ถือศีลอดมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และเป็น


การช่วยเหลือคนยากจน


2. การจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺถูกบัญญัติขึ้นในปีที่สองหลังจากการฮิจญ์เราะฮฺไปยังนครมะ


ดีนะฮฺ


3. มุสลิมที่วาญิบต้องจ่ายซะกาตได้แก่ ผู้ชาย ผู้หญิง มุสลิมที่เป็นเสรีชน คนแก่ หนุ่มสาว


จนถึงเด็กทารกที่เพิ่งเกิดในช่วงปลายเราะมะฎอนก็จะต้องจ่ายซะกาตเช่นเดียวกัน


4. ประเภทซะกาต ได้แก่ ลูกอินทผลัมหรือแป้งสาลี ส่วนข้าวสารนั้นเป็นการกิยาส(การ


เปรียบเทียบ)กับแป้งสาลีที่เป็นอาหารหลัก


5. อัตราซะกาตที่จะต้องจ่าย คือ 1 ศออฺ (หนึ่งกันตังของชาวมะดีนะฮฺ ซึ่งเท่ากับ 3 ลิตร


กับ 1 กระป๋องนมของบ้านเรา)


6. ซะกาตจะต้องจ่ายให้เสร็จสิ้นก่อนละหมาดอีด


7. ผู้ที่มีสิทธิรับซะกาตฟิฏเราะฮฺ คือบุคคลแปดจำพวกเหมือนกับจำพวกที่สามารถรับซะ


กาตทั่วไปได้


8. เวลาที่สามารถจ่ายซะกาตคือ เริ่มตั้งแต่ต้นเราะมะฎอนจนถึงเช้าวันอีดก่อนละหมาด


อีด


9. ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้ประชาชาติมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน


โดยเฉพาะคนที่มีฐานะร่ำรวยจะต้องช่วยเหลือคนที่ยากจน เพื่อให้เกิดความรักใคร่ เอื้ออาทรซึ่งกัน


และกัน



กระทู้ล่าสุด

วันอีดในบัญญัติอิสลาม ...

วันอีดในบัญญัติอิสลาม

วันอีดในบัญญัติอิสลาม ...

วันอีดในบัญญัติอิสลาม

จุดประสงค์ของการจ่ายซ ...

จุดประสงค์ของการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ...

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฎู