ส่งเสริมให้ทาน สะหูรฺ ในช่วงท้ายสุดของกลางคืน
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 15
ส่งเสริมให้ทาน สะหูรฺ ในช่วงท้ายสุดของกลางคืน
ความว่า จากท่าน อะนัส เล่าจากท่าน ซัยดฺ อิบนุ ษาบิต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
ได้กล่าวว่า “พวกเราได้ทานสะหูรฺกับท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
เสร็จแล้วก็ได้ลุกขึ้นไปละหมาด(ศุบหฺ)กับท่าน” ฉัน(อะนัส)ถามว่า “ช่วงเวลา
เท่าใดระหว่างทั้งสอง? (หมายถึงหลังจากที่ทานสะหูรฺเสร็จกับเวลาของการ
ละหมาดศุบหฺ)” ซัยดฺตอบว่า “ห้าสิบอายะฮฺ(หมายถึงช่วงเวลาระหว่างนั้น
เท่ากับเวลาที่ใช้ในการอ่านอัลกุรอานประมาณห้าสิบอายะฮฺ)” ในอีกรายงาน
หนึ่งมีว่า “ประมาณห้าสิบหรือหกสิบอายะฮฺ” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่
541 และมุสลิม เลขที่ 1837)
คำอธิบายหะดีษ
บทเรียนจากหะดีษฺนี้คือ สุนัตให้ทานสะหูรฺอย่างล่าที่สุดเท่าที่สามารถทำได้
ในรายงานของอัล-บุคอรีย์ระบุว่า คำว่า “นานเพียงใดระหว่างการอะซานและอาหารสะ
หูรฺ” คือ การอ่านอัลกุรอานประมาณ 50 อายะฮฺ (อ่านอย่างปกติ) ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป
อัล-มุฮัลลับและคนอื่น ๆ กล่าวว่า ให้คำนวนเวลาอะมัลทางกายเหมือนกับการคิดของคน
อาหรับ ซึ่งโดยปกติแล้วคนอาหรับจะคิดคำนวนเวลาตามการทำงานของเขาตาม เช่น พวกเขาจะ
กล่าวว่าใช้เวลาประมาณรีดนมแพะ หรือประมาณการเชือดอูฐ
อิบนุ อะลีย์ หัมซะฮฺ กล่าวว่า ในหะดีษดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเวลาของบรรดาเศาะหาบะฮฺ
หมดไปในแต่ละวันกับการทำอะมัลอิบาดะฮฺจนเห็นดวงดาวบนท้องฟ้า
บทเรียนจากหะดีษ
1. ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านจะรับประทาน
อาหารสะหูรฺในช่วงเวลาใกล้ๆ กับเวลาละหมาดศุบหฺ
2
2. ส่งเสริมให้มีการรับประทานอาหารสะหูรฺรวมกันเป็นญะมาอะฮฺ (ทานเป็นกลุ่ม)
3. ระยะห่างระหว่างเวลาสะหูรฺกับเวลาละหมาดศุบฮฺคือ ระยะเวลาการอ่านอัลกุรอาน
อย่างปกติประมาณ 50 อายะฮฺ